![]() |
ตามรอยชนเผ่าไทแดงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกลืม: กรณีศึกษาชนเผ่าไทแดง บ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มนตรี คำวัน |
Title | ตามรอยชนเผ่าไทแดงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกลืม: กรณีศึกษาชนเผ่าไทแดง บ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Journal Vol. | 16 |
Journal No. | 57 |
Page no. | 77 |
Keyword | ชนเผ่าไทแดง, จารีต, ประเพณี, พิธีกรรม, ภูมิปัญญา |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru |
Website title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
ISSN | 1905-1867 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของชนเผ่าไทแดง 2) วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าไทแดง และ 3) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของชนเผ่าไทแดง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการศึกษาวิจัยคือ บ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้นำหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ ประชาชน และกลุ่มเยาวชน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์โดยวิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง บ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อพยพมาจากเมืองกี่ในดินแดนสิบสองจุไทประเทศเวียดนาม เข้ามายังเมืองสบแอดเซียงค้อ ในแคว้นหัวพันของประเทศลาว และอพยพมาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยที่บ้านห้วยผักเน่า ตำบลลาดค่าง อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในปี พ.ศ. 2417 เนื่องจากเป็นสภาพที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง มีป่าไม้และภูเขาคล้ายถิ่นฐานดั้งเดิม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าไทแดง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาชีพเสริมคือขายสลากกินแบ่งรัฐบาล ชาวไทแดงมีประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย ขนมธรรมเนียม ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ การดำรงชีวิตประจำวันยังคงผูกพันกับประเพณี วิถีชีวิตของชาวไทแดงได้เปลี่ยนแปลงไปในหลายด้านตามยุคสมัย ได้นำเทคโนโลยีหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เข้ามาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน มีการใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีการลดหย่อนผ่อนปรนจารีตประเพณี วัฒนธรรมบางอย่างเพื่อให้การดำรงชีวิตของคนในชุมชนเป็นไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ภาษาในอดีตเป็นภาษาไทแดงได้รับวัฒนธรรมการพูดมาจากเวียดนามตอนเหนือและบางส่วนมาจากจีนทางตอนใต้ แต่ในปัจจุบันคนในชุมชนบ้านห้วยผักเน่า จะใช้ภาษาไทเลยสำเนียงด่านซ้าย ชาวไทแดงยังคงอนุรักษ์และสืบทอด ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นในปัจจุบัน |