![]() |
วรรณยุกต์ภาษาไทยของผู้พูดภาษาลัวะ จังหวัดน่าน: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชมนาด อินทจามรรักษ์ |
Title | วรรณยุกต์ภาษาไทยของผู้พูดภาษาลัวะ จังหวัดน่าน: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์ |
Publisher | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1-21 |
Keyword | วรรณยุกต์, สัทลักษณะ, ภาษาลัวะ, การออกเสียงภาษาไทย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/index |
Website title | วารสารศิลปศาสตร์ |
ISSN | 2672-9814 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบสัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษาไทยมาตรฐานที่ออกเสียงโดยผู้พูดภาษาลัวะ 4 วิธภาษาที่พูดในจังหวัดน่าน ประกอบไปด้วย 1) ภาษาลัวะมัลบ้านสกาดกลาง 2) ภาษาลัวะมัลบ้านเกวต 3) ภาษาลัวะมัลบ้านตาหลวง และ 4) ภาษาลัวะไปรบ้านห้วยล้อม รายการคำสำหรับบันทึกเสียงครอบคลุมวรรณยุกต์ภาษาไทยทั้ง 5 หน่วยเสียงที่ปรากฏในคำพยางค์เป็นและพยางค์ตายจำนวน 9 คำ ผู้บอกภาษาเป็นผู้พูดภาษาลัวะ จำนวนวิธภาษาละ 5 คน รวมเป็น 20 คน ในภาษาลัวะ 4 วิธภาษา งานวิจัยเก็บข้อมูลโดยการให้ ผู้บอกภาษาออกเสียงรายการคำที่จัดเรียงแบบสุ่ม จำนวน 5 รอบ ในกรอบประโยค "พูด......อีกที" สรุปจำนวนคำทดสอบสำหรับการวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ ทั้งสิ้น 900 คำทดสอบ จากนั้นบันทึกเสียงผู้บอกภาษาด้วยคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรม Praat เพื่อการวิเคราะห์ค่าความถี่ มูลฐาน (F0) ของวรรณยุกต์ และนำมาปรับเป็นค่าเซมิโทน ผลการวิจัยพบว่า การออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยในคำพยางค์เป็นวรรณยุกต์ระดับ ได้แก่ วรรณยุกต์สามัญและวรรณยุกต์เอก มีสัทลักษณะตก (falling contour) อย่างเห็นได้ชัดในภาษาลัวะทุกวิธภาษา ในขณะที่วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับในคำพยางค์ตาย ได้แก่ วรรณยุกต์โทและวรรณยุกต์ตรี มีสัทลักษณะระดับ (level contour) ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าผู้พูดภาษาลัวะนำสัทลักษณะของระดับเสียงในภาษาแม่มาใช้ในการออกเสียงภาษาไทย เนื่องจากระดับเสียงธรรมชาติในคำลัวะเป็น [สูง-ตก] หรือ [สูงระดับ] ขึ้นกับโครงสร้างพยางค์ นั่นคือ คำพยางค์เป็นจะมีระดับเสียง [สูง-ตก] ส่วนคำพยางค์ตายจะมีระดับเสียง [สูงระดับ] นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบสัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษาไทยในแต่ละวิธภาษาพบว่า ผู้พูดภาษาลัวะมัลบ้านเกวตออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยแตกต่างจากผู้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่มากที่สุด |