![]() |
ชีวประวัติพระโลกเกษมในคัมภีร์เกาเซิงจ้วนแปล:ผู้แปลคัมภีร์มหายานพากย์จีนชุดแรก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ประภากร พนัสดิษฐ์ |
Title | ชีวประวัติพระโลกเกษมในคัมภีร์เกาเซิงจ้วนแปล:ผู้แปลคัมภีร์มหายานพากย์จีนชุดแรก |
Contributor | วิไลพร สุจริตธรรมกุล, เมธี พิทักษ์ธีระธรรม |
Publisher | Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | Liberal Arts Review |
Journal Vol. | 18 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 100-123 |
Keyword | ชีวประวัติ, พระโลกเกษม, เกาเซิงจ้วน, งานแปล, คัมภีร์มหายานพากย์จีน |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/17698/4843 |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/index |
ISSN | 2730-2296 (Online) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทถอดความชีวประวัติของพระโลกเกษม [支樓迦讖] ในคัมภีร์เกาเซิงจ้วน ให้รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับชีวประวัติ และผลงานคัมภีร์แปลพระพุทธศาสนามหายานที่แท้จริงของท่าน เพื่อทำให้ผู้ศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจีนยุคต้น และเพื่อสื่อให้เห็นถึงคุณูปการของพระโลกเกษม ในฐานะพระภิกษุผู้ทำให้พระพุทธศาสนามหายานหยั่งรากฐานอย่างมั่นคงในแผ่นดินจีน โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์ตีความเนื้อหา จากหลักฐานชั้นต้น คือ เอกสารคัมภีร์โบราณของจีน และหลักฐานชั้นรอง ที่เป็นงานวิจัยของนักวิชาการในปัจจุบันจากการศึกษาพบว่า พระโลกเกษมมีพื้นเพเดิมเป็นชาวเยฺว่จือ [月支] เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาและทำงานแปลที่จีนราว ค.ศ. 147-189 ระหว่างนี้ยังได้ทำงานแปลร่วมกับพระจู๋ฝัวซั่ว [竺佛朔] และมีลูกศิษย์นามว่าจือเลี่ยง [支亮] อยู่คนหนึ่งด้วย นักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน ต่างอาศัยการวิเคราะห์จากบันทึกคัมภีร์จีนโบราณที่เกี่ยวข้อง และจากลักษณะเฉพาะของงานแปล ในการยืนยันผลงานแปลที่แท้จริงของท่าน สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันถึงคุณูปการของท่าน ด้านการวางรากฐานคัมภีร์มหายาน และการเผยแพร่แนวคิดปรัชญาปารมิตาในแผ่นดินจีน อีกทั้งผลงานของท่านก็ยังเป็นต้นแบบให้กับงานแปลคัมภีร์มหายานในยุคต่อ ๆ มา การศึกษาวิจัยชีวประวัติของพระโลกเกษมจึงเป็นพื้นฐานข้อมูลสำคัญ ที่จะสามารถนำไปใช้ต่อยอดการศึกษาวิจัยถึงรูปแบบและระบบการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนามหายานในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เพื่อทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงพัฒนาการของพระพุทธศาสนามหายานในแผ่นดินจีนได้ดียิ่งขึ้นต่อไป |