การประยุกต์ภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วยยางไม้สู่แนวคิดหัตถสุนทรียะ
รหัสดีโอไอ
Creator ดวงใจ อุชชิน
Title การประยุกต์ภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วยยางไม้สู่แนวคิดหัตถสุนทรียะ
Contributor ขจรศักดิ์ นาคปาน
Publisher Huachiew Chalermprakiet University
Publication Year 2566
Journal Title Liberal Arts Review
Journal Vol. 18
Journal No. 2
Page no. 41-63
Keyword ประยุกต์ภูมิปัญญา, ยางไม้, กระบวนการย้อมผ้า, สีธรรมชาติ, หัตถสุนทรียะ
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/17698/4843
Website title https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/index
ISSN 1905-2863 (Print) 2730-2296 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้ เป็นการนำภูมิปัญญาของงานย้อมผ้าในรูปแบบงานทำด้วยมือมาประยุกต์ใช้กับวัสดุยางไม้ จากการศึกษาพบว่า ยางไม้เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นกาวธรรมชาติ มีโครงสร้างพื้นฐานโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำและมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากแป้ง มาผลิตเป็นไบโอพลาสติก (Bioplastic) ที่ใช้ในการเคลือบอาหาร บรรจุภัณฑ์ รวมถึงเสื้อผ้า เป็นต้น ผู้วิจัยเห็นคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันนี้ จึงนำมาประยุกต์ใช้ด้วยการนำยางไม้มาทดลองสร้างเป็นวัสดุไบโอเรซิ่น (Bioresin) ให้สามารถเคลือบเม็ดสีธรรมชาติเพื่อสามารถยึดเกาะเส้นใยผ้าได้ดียิ่งขึ้น และนำยางไม้คารายากัม (Karaya Gum) ที่มีคุณสมบัติเป็นกรดมาทำหน้าที่เป็น Emulsion (อิมัลชัน) มาใช้สร้างไบโอเรซิ่นและออกแบบกระบวนการย้อมสีผ้าที่ลดปริมาณการใช้น้ำให้น้อยลง ลดปัจจัยการสร้างมลภาวะทางน้ำหลังจากกระบวนการย้อมผ้า นอกจากนี้ผลการวิจัยนี้ พบว่า การประยุกต์ภูมิปัญญากระบวนการย้อมผ้าด้วยยางไม้ก่อให้เกิดแนวคิดในการสร้างสุนทรียศาสตร์แบบหัตถสุนทรียะ (มือ หัวใจ) ที่ สามารถใช้เป็นแนวทางการสร้างสรรค์งานย้อมผ้าที่ทำด้วยมือ โดยมีแนวทาง 3 ประการ ได้แก่ 1) สร้างสรรค์ด้วยการตระหนักถึงสิ่งรอบตัว 2) สร้างสรรค์ด้วยการคิดอย่างมีเหตุผลในสิ่งที่ธรรมชาติเป็นอยู่ 3) สร้างสรรค์ด้วยการพึ่งพาตนเองสู่การค้นหาการรับรู้ในชั่วขณะจิต
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ