![]() |
การสร้างบทอ่านเชิงวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักศึกษาเวียดนาม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นิธิอร พรอำไพสกุล |
Title | การสร้างบทอ่านเชิงวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักศึกษาเวียดนาม |
Contributor | สุภัค มหาวรากร, ผกาศรี เย็นบุตร, Nguyễn Thị Loan Phúc, Nguyễn Kiều Yến. |
Publisher | คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Liberal Arts Review |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 132-149 |
Keyword | บทอ่านเชิงวัฒนธรรม, นักศึกษาเวียดนาม |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/17262 |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/index |
ISSN | 2730-2296 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบทอ่านเชิงวัฒนธรรมไทยเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาเวียดนามมีวิธีดำเนินการวิจัยโดยสร้างเครื่องมือจำนวน 9 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 สวัสดี หน่วยที่ 2 ตักบาตร หน่วยที่ 3 วัด หน่วยที่ 4 งอบ หน่วยที่ 5 ดินสอพอง หน่วยที่ 6 ยาดมส้มโอมือ หน่วยที่ 7 ดอกมะลิ หน่วยที่ 8 ส้มตำ และหน่วยที่ 9 กล้วยหาย จากนั้นปรับปรุงเครื่องมือตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านแล้วจึงนำเครื่องมือไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชาวเวียดนาม ระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาเอกไทยศึกษา ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ณ นครโฮจิมินห์ (University of Social Sciences and Humanities - Vietnam National University, Ho Chi Minh City) จำนวน 21 คน ผลการวิจัยพบว่า บทอ่านเชิงวัฒนธรรมไทยเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาเวียดนามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยบทอ่านวัฒนธรรม คำศัพท์ และวัฒนธรรมเวียดนาม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมเวียดนามที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน โดยใช้ภาษาเวียดนามอธิบายบางส่วน บทอ่านนี้ทำให้นักศึกษาเวียดนามมีความรู้เพิ่มเติมด้านวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมเวียดนาม รู้หลักการอ่านและสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1=93.49/E2=85.5) แสดงให้เห็นว่านักศึกษาเวียดนามเข้าใจวัฒนธรรมไทย หลักการอ่านภาษาไทย และได้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยของนักศึกษาเวียดนามผ่านบทอ่านที่เป็นความรู้เรื่องวัฒนธรรมของสองประเทศ บทอ่านเชิงวัฒนธรรมไทยเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาเวียดนามนี้จึงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้นักศึกษาเวียดนาม และมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมเวียดนาม |