![]() |
การสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอฟูรัลจากน้ำตาลกลูโคสโดยใช้อนุภาคซิลิกาที่มีรูพรุนแบบเดนไดรต์ที่ติดหมู่ฟังก์ชั่นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สิทธิพงษ์ อำนวยพานิชย์ |
Title | การสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอฟูรัลจากน้ำตาลกลูโคสโดยใช้อนุภาคซิลิกาที่มีรูพรุนแบบเดนไดรต์ที่ติดหมู่ฟังก์ชั่นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา |
Contributor | กานต์ จันทมงคล |
Publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | KKU Science Journal |
Journal Vol. | 53 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 191-204 |
Keyword | อนุภาคซิลิกาที่มีรูพรุนแบบเดนไดรติก, 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอฟูรัล, ตัวเร่งปฏิกิริยา, กรดฟอสโฟทังสติก, กลูโคส |
URL Website | https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ |
Website title | Thai Journal Online (ThaiJO) |
ISSN | 3027-6667 |
Abstract | งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอนุภาคซิลิกาที่มีรูพรุนแบบเดนไดรต์ (DMSNs) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอฟูรัล (5-HMF) จากน้ำตาลกลูโคส โดยศึกษาการปรับแต่งพื้นผิวของ DMSNs ด้วยการกัดกร่อนด้วยกรดไฮโดรคลอริก ตรึงด้วยกรดฟอสโฟทังสติก (PTA) และการใส่โครเมียม (III) คลอไรด์เฮกสะไฮเดรต (CrCl3·6H2O) เพื่อเพิ่มค่าความเป็นกรดและปรับปรุงการทำงานของตัวเร่งปฏิกิริยา การทดลองจะดำเนินการภายใต้ระบบไฮโดรเทอร์มอล โดยมีศึกษาการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 140°C 160°C และ 180°C ซึ่งเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น พบการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ข้างเคียง เช่น กรดฟอร์มิก (FA) และกรดเลวูลินิก (LA) ทำให้ประสิทธิภาพของการเกิดปฏิกิริยาลดลง นอกจากนี้การใช้ CrCl3·6H2O เป็นตัวร่วมเร่งปฏิกิริยาพบว่าการปรับอัตราส่วน Glucose: Cr3+ 1:0.1 ที่ 160°C ให้ค่าร้อยละผลได้ของ 5-HMF สูงสุดร้อยละ 13.1 ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการปรับแต่งพื้นผิวของ DMSNs และการควบคุมเงื่อนไขของปฏิกิริยามีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์ 5-HMF จากน้ำตาลกลูโคส การศึกษาเพิ่มเติมสามารถมุ่งเน้นไปที่การออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อลดผลิตภัณฑ์ข้างเคียงและเพิ่มร้อยละการเกิดปฏิกิริยาเพื่อให้กระบวนการสังเคราะห์มีเสถียรภาพมากขึ้น |