![]() |
ปริมาณสารฟีนอลิกรวม การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จากสารสกัดดอกแคหัวหมู |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปาริชาติ อ้นองอาจ |
Title | ปริมาณสารฟีนอลิกรวม การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จากสารสกัดดอกแคหัวหมู |
Contributor | ภรณ์ทิพย์ ชัยสว่าง, กัมปนาท คำสุข, ณลิตา ไพบูลย์ |
Publisher | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น |
Journal Vol. | 46 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 6-12 |
Keyword | แคหัวหมู, ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ, ความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn |
Website title | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn |
ISSN | ISSN 3027-7299 (Print);ISSN 2985-0835 (Online) |
Abstract | ดอกแคหัวหมู (Markhamia stipulate Seem.) เป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ในทางการแพทย์แผนไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากดอกแคหัวหมูที่สกัดด้วยตัวทำละลาย 50% เอทานอล โดยการหาปริมาณฟีนอกลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu และวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picryl-hydrazyl-hydrate assay (DPPH assay) และ Ferric reducing antioxidant power assay (FRAP assay) และนอกจากนี้ยังทำการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Broth dilution เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) โดยทำศึกษาการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Streptococcus mutans, Bacillus subtilis และ Escherichia coli จากผลการศึกษาพบว่าปริมาณสารฟีนอลิกรวมทั้งหมดเท่ากับ 53.71±0.002 ไมโครกรัมกรดแกลลิกต่อ 1 มิลลิลิตรของตัวอย่าง ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP assay แสดงผลด้วยค่า IC50 มีค่าเท่ากับ 43.56±0.044 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 38.43±0.013 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และจากผลการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียพบว่าสารสกัดจากดอกแคหัวหมูมีค่า MIC และ MBC อยู่ในช่วง 1.56 ถึง 200 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากดอกแคหัวหมูมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยการแยกองค์ประกอบของสารต่อไป |