![]() |
การศึกษาสมบัติและความคงตัวของไมโครอิมัลชันบรรจุยาไอทราโคนาโซลสำหรับทาผิวหนัง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ประภาพร บุญมี |
Title | การศึกษาสมบัติและความคงตัวของไมโครอิมัลชันบรรจุยาไอทราโคนาโซลสำหรับทาผิวหนัง |
Contributor | ศิรดา ภู่สันติสัมพันธ์, ณัฏฐณิชา จันทร์มา, สรัสนันท์ พรหมจันทร์ |
Publisher | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น |
Journal Vol. | 46 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-7 |
Keyword | ยาไอทราโคนาโซล, ไมโครอิมัลชัน, ยาต้านเชื้อรา, ความคงตัว |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/kochasarn |
Website title | วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น |
ISSN | ISSN 3027-7299 (Print);ISSN 2985-0835 (Online) |
Abstract | โรคผิวหนังจากเชื้อราเป็นโรคที่พบได้บ่อยในภูมิภาคเขตร้อนชื้นโดยทั่วไป โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อราโดยการรับประทานและการทาเฉพาะที่ ยาต้านเชื้อราในรูปแบบของเหลวสำหรับทาเฉพาะที่มีข้อดี คือ ลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์แบบทั่วร่างกาย ยาแผ่กระจายได้ทั่วบริเวณที่ทา และผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้สะดวก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบไมโครอิมัลชันในการเตรียมตำรับไอทราโคนาโซลไมโครอิมัลชันสำหรับใช้เฉพาะที่ โดยศึกษาการเกิดไมโครอิมัลชันในระบบที่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วยวัฏภาคน้ำมัน วัฏภาคน้ำ และสารลดแรงตึงผิว ต่างชนิดกันด้วยวิธีไทเทรต จากนั้นเลือกตำรับไมโครอิมัลชันเปล่าจากแผนภาพวัฏภาคที่มีพื้นที่ไมโครอิมัลชันขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุยาไอทราโคนาโซลในความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก สังเกตลักษณะของตำรับที่เตรียมได้เทียบกับไมโครอิมัลชันเปล่า นอกจากนี้ ศึกษาความคงตัวของตำรับเมื่อเก็บในภาชนะแก้วที่ป้องกันแสง ที่อุณหภูมิโดยรอบ (28±2 องศาเซลเซียส) นาน 8 สัปดาห์ โดยใช้เทคนิคอัลตราไวโอเลตและวิสิเบิลสเปกโทรสโคปีในการวิเคราะห์ปริมาณตัวยาสำคัญ ผลการศึกษาพื้นที่ไมโครอิมัลชันของระบบที่มีส่วนประกอบแตกต่างกัน 12 ระบบ พบว่าระบบที่เหมาะสมประกอบด้วยน้ำมันกานพลูและกรดโอเลอิกในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 เป็นวัฏภาคน้ำมัน น้ำและโพรพิลีนไกลคอลในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เป็นวัฏภาคน้ำ และทวีน 80 เป็นสารลดแรงตึงผิว การผสมตัวยาสำคัญในไมโครอิมัลชันเปล่าที่เลือกมาศึกษา 4 ตำรับ ไม่มีผลต่อลักษณะและชนิดของไมโครอิมัลชัน สมบัติด้านความหนืดและความเป็นกรด-ด่างของทุกตำรับที่เตรียมได้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้สำหรับการทาผิวหนัง อย่างไรก็ตาม พบว่าทุกตำรับมีความคงตัวทางเคมีต่ำเมื่อเก็บภายใต้สภาวะที่ศึกษา ดังนั้น ในการศึกษาต่อไป ควรปรับปรุงสูตรตำรับเพื่อให้ตัวยาสำคัญมีความคงตัวทางเคมีเพิ่มขึ้น |