![]() |
การออกแบบบอร์ดเกม The Secret of Endocrine System เพื่อส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภาธร พงศ์ไพจิตร |
Title | การออกแบบบอร์ดเกม The Secret of Endocrine System เพื่อส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ |
Contributor | สุรเดช ศรีทา, อรวรรณ คูหเพ็ญแสง |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 241-260 |
Keyword | Board game, Endocrine system, Secondary student |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 2651-074X |
Abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของคณะผู้วิจัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการสร้างเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกิดการเรียนรู้เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมและกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการออกแบบบอร์ดเกม เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ที่ยินดีเป็นอาสาสมัครจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบตรวจความถูกต้องด้านเนื้อหา และกติกาของบอร์ดเกมเรื่องระบบต่อมไร้ท่อ 2) แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ 3) บันทึกหลังสอนของผู้วิจัยและ 4) ใบบันทึกการรับรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการนำบอร์ดเกมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่า IOC และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การ์ดเกมทุกใบ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.8 ข้อมูลในการ์ดมีความถูกต้องเหมาะสมในด้านเนื้อหา และจากการทดสอบเกมกับผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปว่าบอร์ดเกมมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในด้านกลไก กติกา วัสดุ และภาพรวมของเกม 2) ผลการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการออกแบบบอร์ดเกมมีดังนี้ แนวปฏิบัติที่ 1 การปรับรูปแบบการเล่นโดยแบ่งการเล่นเกมเป็นเกมย่อย ๆ ให้เล่นได้ง่ายขึ้น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาเบื้องต้น และสามารถเล่นเกมตามกติกาเต็มรูปแบบง่ายขึ้น แนวปฏิบัติที่ 2 การสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจกติกาของเกมที่กำหนดไว้ก่อนการเล่นจริงในห้องเรียน ช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้ แนวปฏิบัติที่ 3 การสรุปความรู้ในแต่ละคาบเรียนหลังจากการเล่นเกมจบ ควรใช้วิธีการสรุปความรู้ที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลบริบทของกลุ่มเป็นฐานในการสรุปความรู้ และแนวปฏิบัติที่ 4 การสื่อสารระหว่างการเล่นเกมโดยการให้นักเรียนพูดชื่อฮอร์โมนและข้อมูลในการ์ด ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์โดยมีเกมเป็นสื่อกลางกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ |