![]() |
การศึกษาความสามารถในการนำเสนอตัวแทนความคิดเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สิขเรศ อำไพ |
Title | การศึกษาความสามารถในการนำเสนอตัวแทนความคิดเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 226-240 |
Keyword | Representation, Representation competency, Chemical equilibrium |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 2651-074X |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมุ่งที่จะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเชิงลึกเพื่อศึกษาว่านักเรียนมีความสามารถในการแสดงตัวแทนความคิด 3 ระดับ คือระดับมหภาค จุลภาค และสัญลักษณ์เป็นอย่างไร ผ่านการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาของวิชาเคมี เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลเคมี โดยที่ไม่ได้จัดกระทำสิ่งทดลองใด ๆ ให้กับนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 40 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการอุปนัยจากการอ่านข้อมูลในกระดาษนำเสนอตัวแทนความคิด 3 ระดับ ของทุกกลุ่ม ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีอีก 2 ท่าน พิจารณาความคล้ายและความแตกต่างของคำตอบ เพื่อให้ได้แนวทางการสร้างประเด็นข้อค้นพบตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอตัวแทนความคิด โดยการจัดกลุ่มคำตอบของนักเรียนคำนึงถึงประเด็นที่พบและจำนวนของประเด็น ซึ่งอาจทำให้ผลงานใน 1 กลุ่ม พบประเด็นมากกว่าหนึ่งประเด็น ได้ข้อสรุปจำนวน 5 ประเด็น คือ 1) การนำเสนอตัวแทนความคิดของปฏิกิริยาในระดับจุลภาคที่แสดงกลไกการเกิดปฏิกิริยา (mechanism) ไม่ครบขั้นตอน 2) การไม่ได้แสดงตัวแทนความคิดของความเคลื่อนไหว (movement) ของอนุภาคสาร ทุก ๆ ขั้นตอนในระดับจุลภาค 3) การแสดงตัวแทนความคิดของการเปลี่ยนของสมดุลในระดับจุลภาคโดยไม่คำนึงถึงจำนวน สัดส่วนของอนุภาคที่จะต้องสัมพันธ์กันระหว่างสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ในระบบสมดุลเคมี 4) การนำเสนอตัวแทนความคิดของปรากฏการณ์ในระดับมหภาคโดยใช้การบรรยาย ไม่วาดภาพ หรือวาดภาพแต่แสดงไม่ครบขั้นตอน เลือกตัวแทนสีไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 5) การนำเสนอตัวแทนความคิดของปรากฏการณ์ในระดับจุลภาคโดยใช้รูปเรขาคณิต ไม่ใช้รูปร่างโมเลกุล ไอออน อนุมูลกลุ่มตามความรู้เดิม |