การตรวจติดตามฮอร์โมนความเครียดและฮอร์โมนเพศของช้างเอเชียเพศผู้ (Elephas maximus) ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
รหัสดีโอไอ
Creator โศภิษฐา ดอนท่าโพธิ์
Title การตรวจติดตามฮอร์โมนความเครียดและฮอร์โมนเพศของช้างเอเชียเพศผู้ (Elephas maximus) ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
Contributor ชัยณรงค์ ปั้นคง, อุไรวรรณ ราชยา, ยลดา แต่งภูเขียว, ก้องภพ ภรัณยากุล, จันทิมา ปิยะพงษ์
Publisher หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Publication Year 2567
Journal Title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL)
Journal Vol. 15
Journal No. 2
Page no. 152-163
Keyword Asian elephant, Zoo, Stress hormone, Sex hormone
URL Website http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index
Website title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
ISSN 2651-074X
Abstract ช้างเอเชีย (Elephas maximus) จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรองจากช้างแอฟริกา ในปัจจุบันสวนสัตว์เปิดเขาเขียวตระหนักถึงสวัสดิภาพของช้างเอเชียในสภาพแวดล้อมแบบทั้งในส่วนแสดงและในคอกเลี้ยง นอกจากนี้ช้างเอเชียเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างจึงถูกสิ่งเร้าจากนักท่องเที่ยวรบกวนซึ่งอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนความเครียดของช้างเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อการทำงานต่อระบบระดับฮอร์โมนเพศที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรน (corticosterone) และฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดยการนำมูลของช้างเอเชียเพศผู้จำนวน 4 เชือก มาสกัดฮอร์โมนดังกล่าวและตรวจวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนด้วยวิธีการ enzyme immunoassay (EIA) ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่รบกวนตัวสัตว์ (non–invasive method) รวมทั้งใช้สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ในการศึกษานี้ ผลการศึกษาพบว่าระดับความเข้มข้นฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรนของช้างเอเชียเพศผู้ทั้ง 4 เชือกมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดช่วงระยะการศึกษาโดยสีดอมงคลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 139.91±7.64 นาโนกรัมต่อหนึ่งกรัมของมูลแห้ง ในขณะที่ระดับความเข้มข้นฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของช้างเอเชียทั้ง 4 เชือกมีช่วงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนตลอดช่วงการศึกษา โดยพลายเปี๊ยกมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 254.46±48.22 นาโนกรัมต่อหนึ่งกรัมของมูลแห้ง อย่างไรก็ตามการศึกษาความสัมพันธ์ของฮอร์โมนคอร์ทิโคสเทอโรนและฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในช้างเอเชียเพศผู้แต่ละเชือกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญในเชิงบวก (p < 0.01) การศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปรับปรุงสภาพแวดล้อมในคอกเลี้ยงและส่วนแสดงของช้างเอเชียในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวและสามารถนำเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ในด้านการส่งเสริมพฤติกรรมของช้างเพื่อสนับสนุนการทำให้ช้างมีสุขภาพและสวัสดิภาพให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ