![]() |
การศึกษาผลของพื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบต่อการหดตัวของคอนกรีต |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชำนาญ น้อยพิทักษ์ |
Title | การศึกษาผลของพื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบต่อการหดตัวของคอนกรีต |
Contributor | สรัณกร เหมะวิบูลย์, สนธยา ทองอรุณศรี |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 55-65 |
Keyword | การหดตัวแบบออโตจีนัส, การหดตัวแบบโดยรวม, ขนาดโตสุดของมวลรวม, ช่องว่างระหว่างมวลรวม |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 1906-9790 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของพื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบต่อพฤติกรรมการหดตัวแบบออโตจีนัส และแบบโดยรวมของคอนกรีต โดยใช้หินปูนเป็นมวลรวมหยาบในการศึกษา ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย พื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบ และร้อยละช่องว่างระหว่างมวลรวม โดยใช้มวลรวมหยาบที่มีขนาดคละแตกต่างกันเป็นส่วนผสมทำให้ได้พื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบมีค่าอยู่ระหว่าง 589–1690 ตร.ซม./กก. ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสาน และใช้อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.55 จากผลทดสอบพบว่า พื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อใช้มวลรวมหยาบที่มีขนาดเล็กลง และค่าร้อยละช่องว่างระหว่างมวลรวมมีค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของพื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบที่เพิ่มขึ้น พื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบมีผลกระทบต่อการหดตัวของคอนกรีตอย่างมีนัยสำคัญ โดยการหดตัวแบบออโตจีนัสและการหดตัวแบบโดยรวมของคอนกรีตมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณพื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบที่เพิ่มขึ้น และพื้นที่ผิวของมวลรวมหยาบมีผลกระทบต่อการหดตัวแบบโดยรวมมากกว่าการหดตัวแบบออโตจีนัสของคอนกรีต |