ความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อมบางประการต่อความหลากหลายของชนิดพันธุ์และการสะสมมวลชีวภาพของไม้ป่าในพื้นที่ทิ้งร้างจากการเกษตร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
รหัสดีโอไอ
Creator ปณิดา กาจีนะ
Title ความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อมบางประการต่อความหลากหลายของชนิดพันธุ์และการสะสมมวลชีวภาพของไม้ป่าในพื้นที่ทิ้งร้างจากการเกษตร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
Contributor ถาวร อ่อนประไพ, อังคณา สมศักดิ์, ณิชาภัทร์ ดวงทิพย์, สุธีระ เหิมฮึก
Publisher หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Publication Year 2565
Journal Title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 271-285
Keyword ความหลากหลายของชนิดพันธุ์, การสะสมมวลชีวภาพ, สมบัติของดิน, พื้นที่ทิ้งร้างจากการเกษตร
URL Website https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/
Website title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
ISSN 1906-9790
Abstract พื้นที่การเกษตรเดิมของเกษตรกรในอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน มีลักษณะเป็นพื้นที่ชายป่าธรรมชาติที่เชื่อมต่อกับพื้นที่เกษตร โดยเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันของชนิดพืชในสองพื้นที่ระหว่างแนวรอยต่อ โดยการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในช่วงที่เกิดการรบกวนสามารถเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าว การศึกษาในครั้งนี้จึงศึกษาองค์ประกอบชนิดพันธุ์ไม้ป่าในพื้นที่ 1) ป่าที่มีความสมบูรณ์ ป่าใกล้เคียงพื้นที่ชุมชน และพื้นที่ชายป่า และ 2) พื้นที่แปลงสำรวจที่เป็นพื้นที่ผ่านการทำการเกษตรมาก่อนและได้มีการปล่อยทิ้งร้างไว้ในระยะต่างๆ โดยทำการศึกษาสมบัติของดินบางประการ ได้แก่ ปฏิกิริยาดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดิน ปริมาณของฟอสฟอรัส ปริมาณโพแทสเซียม และทำการจัดอันดับปัจจัยดินกับกลุ่มชนิดไม้โดยใช้ค่าการสะสมมวลชีวภาพประเมินความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่ามีชนิดไม้เด่น เช่น กรมเขา ติ้วเกลี้ยง ทะโล้ ประดู่ป่า และ ก่อแป้น เป็นต้น ปรากฏในพื้นที่ มีค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ระหว่างประเภทพื้นที่สำรวจในช่วง 1.10 – 2.54 สามารถแบ่งปัจจัยด้านดินในพื้นที่ได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีสัมพันธ์กับธาตุอาหารในดิน และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาดิน (pH) และสามารถจัดกลุ่มการสะสมมวลชีวภาพของพืชได้เป็น กลุ่มแปลงป่าธรรมชาติได้รับปัจจัยที่มีอิทธิพลจากความสูงจากระดับน้ำ ทะเล พื้นที่ทิ้งร้างเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยปริมาณธาตุอาหารและปฏิกิริยาดิน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ