![]() |
ผลของการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้หลักวิธีการสอนสำหรับผู้ใหญ่ร่วมกับระบบการเรียนรู้จำเพาะบุคคล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภาวัต ไชยพิเดช |
Title | ผลของการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้หลักวิธีการสอนสำหรับผู้ใหญ่ร่วมกับระบบการเรียนรู้จำเพาะบุคคล |
Contributor | ธนชัย ขจรมณี, กรชวัล ชายผา, ะนิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ |
Publisher | หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Publication Year | 2564 |
Journal Title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL) |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 287-315 |
Keyword | หลักวิธีการสอนสำหรับผู้ใหญ่, การพัฒนาวิชาชีพครู, ความรู้ในการสอนจำเพาะเนื้อหาโดยใช้เทคโนโลยี, การเรียนรู้จำเพาะบุคคล:การเรียนรู้แบบดิจิทัล |
URL Website | http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index |
Website title | วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ |
ISSN | 1906-9790 |
Abstract | ด้วยแรงโหมกระหน่ำของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการศึกษาในยุคนี้นั้น บทบาทของครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโดยไม่ใช่เป็นเพียงแค่การผู้นำส่งความรู้เนื้อหาสาระหลักให้นักเรียนเท่านั้น แต่จะต้องปรับตนให้รู้ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเทคนิควิธีการสอนที่เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานการสอนเนื้อหาจำเพาะ ปัจจุบันในบริบทงานทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษามีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อการเปลี่ยนรูปองค์ความรู้และชุดทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานการสอนผ่านกรอบคิดเกี่ยวกับความรู้ในการสอนจำเพาะเนื้อหาโดยใช้เทคโนโลยี (TPACK) โดยเฉพาะการฝึกอบรมที่พิจารณาถึงประสบการณ์การปฏิบัติงานการสอนที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวิจัยนี้มุ่งออกแบบและพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูโดยอิงหลักวิธีการสอนสำหรับผู้ใหญ่เพื่อสร้างเสริม TPACK ในกลวิธีสะเต็มศึกษาบูรณาการ ให้สำหรับครูวิทยาศาสตร์ประจำการ จำนวน 89 คน ที่เข้าร่วมในโครงการโครงการพัฒนาสมรรถนะนักเรียนระดับมัธยมศึกษาด้วยนวัตกรรมเคเคยูสมาร์ทเลิร์นนิ่ง (KKU–SLA) และระบบการเรียนรู้แบบจำเพาะบุคคลได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของโปรแกรมการฝึกอบรมนี้เพื่อการตอบสนองต่อความจำเป็นในการเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรมอย่างจำเพาะของแต่ละบุคคล โดยมีครูประจำการจำนวน 2 กลุ่มที่เข้ารับการฝึกอบรมผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมที่นำเสนอใหม่นี้ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มครูที่ไม่มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ดิจิทัล จำนวน 28 คน และได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้าประสานเวลา ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มครูที่มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ดิจิทัล จำนวน 61 คน และได้รับการฝึกอบรมแบบออนไลน์ประสานเวลา เนื่องด้วยอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ซึ่งครูทั้งสองกลุ่มถูกประเมิน TPACK ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมในโปรแกรมการฝึกอบรม จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon sign–rank test และ paired t–test พบว่า คะแนน TPACK รวมของครูทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกันกับคะแนนในด้านความรู้ในเทคโนโลยี (TK) และคะแนนความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนเนื้อหา (TCK) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนที่สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อการนำไปสู่ผลของการพัฒนาคุณภาพ TPACK ได้เช่นกัน |