การสำรวจอะแคนทามีบาในตัวอย่างน้ำสวนสาธารณะในประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator ภัทธกร บุบผัน
Title การสำรวจอะแคนทามีบาในตัวอย่างน้ำสวนสาธารณะในประเทศไทย
Contributor ชลาลัย มีบุญ, ฐิตินันท์ กล่ำศิริ, วรากร พรหมยุทธนา, วสุมดี ก่ออมรทรัพย์, รัตน์ติพร โกสุวินทร์, ปะการัง ศรีมี
Publisher หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Publication Year 2561
Journal Title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (JSTEL)
Journal Vol. 9
Journal No. 1
Page no. 36-45
Keyword อะแคนทามีบา, สวนสาธารณะ, อะมีบาดำรงชีพอิสระ
URL Website http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/index
Website title วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
ISSN 1906-9790
Abstract อะแคนทามีบาเป็นอะมีบาที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระในสิ่งแวดล้อมและเป็นเชื้อฉวยโอกาสที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบชนิดเรื้อรัง โรคผิวหนังชนิดเฉียบพลัน และโรคกระจกตาอักเสบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของอะแคนทามีบาจากตัวอย่างน้ำที่เก็บสวนสาธารณะและจัดกลุ่ม อะแคนทามีบาโดยใช้รูปร่างลักษณะของซีสต์ จากตัวอย่างน้ำทั้งหมด 300 ตัวอย่างที่อุณหภูมิเฉลี่ย 24.53 องศาเซสเซียส ค่า pH ประมาณ 5.3 โดยเพาะเลี้ยงอะแคนทามีบาบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ฉาบด้วย Escherichia coli ผลการวิจัยพบ Acanthamoeba spp. ร้อยละ 35 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด จังหวัดสระบุรีและสงขลาพบความชุก Acanthamoeba spp. มากที่สุด และจังหวัดนครราชสีมาและราชบุรีพบความชุกของ Acanthamoeba spp. น้อยที่สุด โดยสามารถแบ่งเป็นลักษณะซีสต์ที่พบได้ 3 กลุ่ม และลักษณะซีสต์กลุ่มที่ 2 พบจำนวนมากที่สุด จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอะแคนทามีบาสามารถพบได้ตามแหล่งน้ำสวนสาธารณะซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้ออะแคนทามีบา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ