![]() |
มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณัฐพล บัวบุตร |
Title | มุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อมต่อการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย |
Publisher | คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 183 |
Keyword | อาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม, อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม, การล่าสัตว์ป่า, การค้าสัตว์ป่า, นายพราน |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jssnu |
Website title | Journal of Social Sciences, Naresuan University |
ISSN | 1686-9192 |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ผิดกฎหมาย ค้นหาสาเหตุและปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และการบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในมุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม โดยได้ทำการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มนายพราน กลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมาย และกลุ่มองค์กรอิสระด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวม 13 คน ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีความรุนแรงมากในพื้นที่ป่าภาคตะวันตกของประเทศไทย รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรูปแบบในการลักลอบล่าสัตว์ป่าในบริบทของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) การลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อการดำรงชีพ (2) การลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อการค้า (3) การลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อการพักผ่อน และ (4) การลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อการแข่งขันหรือกีฬา ทั้งนี้มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำความผิด 5 ประการ ได้แก่ (1) ความไม่เสมอภาคทางสังคม (Social Inequality) (2) ความอ่อนแอของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Weakness of Criminal Justice System) (3) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (Economic Disparity) (4) ค่านิยม (Values) และ (5) ความเชื่อ (Belief) ในมุมมองอาชญาวิทยาสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) เร่งสร้างความเสมอภาคในทางสังคม (2) แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่า เปิดโอกาสให้สามารถใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าบางชนิดในเชิงพาณิชย์ได้ (3) ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมในทางอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับสัตว์ป่า (4) ปรับปรุงกระบวนการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการล่าสัตว์ป่า (5) สร้างพื้นที่การใช้ประโยชน์ร่วมกัน และ (6) บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอิสระ เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสัตว์ป่า |