การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทจันทบุรีกรณีศึกษานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งบอนและโรงเรียนวัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator กนกวรรณ อยู่ไสว
Title การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทจันทบุรีกรณีศึกษานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งบอนและโรงเรียนวัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี
Contributor วกุล จุลจาจันทร์, ระวิสุดา บุญครอง, นภา จันทร์ตรี, พิสุทธิ์ การบุญ
Publisher คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Publication Year 2568
Journal Title วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 1-13
Keyword สื่อการเรียนการสอน, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, บริบทท้องถิ่นจันทบุรี
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS
Website title https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS
ISSN 2822-0463
Abstract บทนำ: การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีบริบทท้องถิ่นจันทบุรียังมีจำกัด การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่5และ6โรงเรียนบ้านทุ่งบอนและโรงเรียนวัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี ออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5และ6ที่บูรณาการบริบทท้องถิ่นจันทบุรี และศึกษาความพึงพอใจของครูและนักเรียนต่อสื่อการเรียนการสอนในบริบทท้องถิ่นจันทบุรี วิธีการศึกษา: ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการสัมภาษณ์ครูชั้นประถมศึกษาปีที่5และ6 โรงเรียนละ 2 คน ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาปัญหาการเรียนการสอน ออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน จากนั้นใช้การวิจัยเชิงปริมาณศึกษาความพึงพอใจของครูและนักเรียน โดยเก็บข้อมูลจากครูชั้นประถมศึกษาปีที่5และ6 จำนวน 2 คน และนักเรียน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า: ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่5และ6 เกิดจากกระแส Soft Power รักษ์ท้องถิ่น แต่มีสื่อการเรียนที่บูรณาการบริบทท้องถิ่น เช่น สถานที่ท่องเที่ยว อาหาร ผลิตภัณฑ์ชื่อดัง และชีวิตชาวสวนผลไม้ไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผลการวิจัยยังแสดงคะแนนการเรียนเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาคือบทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทท้องถิ่นจันทบุรี ดังนี้ คะแนนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.43 และคะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 77.43 ดังนั้นบทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทท้องถิ่นจันทบุรีมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.43/77.43 และครูมีความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในหัวข้อเนื้อหาบริบทจันทบุรีอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.63 ด้านนักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในหัวข้อเนื้อหาเข้าใจง่ายไม่ยากจนเกินไปอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.90 สรุป: ดังนั้นการมีสื่อการเรียนการสอนบทเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่มีเนื้อหาท้องถิ่นจันทบุรีซึ่งได้รับการออกแบบและพัฒนามาจากความต้องการของครูผู้สอนโดยตรง ส่งผลให้ครูและนักเรียนพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ