การลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อจากการพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร กรณีศึกษา บริษัทเอบีซี
รหัสดีโอไอ
Creator คุณากร วิวัฒนากรวงศ์
Title การลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อจากการพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร กรณีศึกษา บริษัทเอบีซี
Publisher คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Publication Year 2567
Journal Title วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
Journal Vol. 7
Journal No. 3
Page no. 60-72
Keyword การลดความสูญเปล่า, กระบวนการจัดการคำสั่งซื้อ, การวางแผนทรัพยากรองค์กร
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS
Website title https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS
ISSN 2822-0463
Abstract งานวิจัยนี้จัดทำเพื่อศึกษากระบวนการจัดการคำสั่งซื้อเดิมของกรณีศึกษาบริษัท เอบีซี และเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อโดยการสร้างระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร และเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ในองค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ ระยะเวลาดำเนินการของธุรกรรมในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อจากรายงานผลการดำเนินงานการผลิตและบริหารงานคลังสินค้า เดืือน มกราคม 2567 จำนวนทั้งสิ้น 149 คำสั่งซื้อ ใช้ผังก้างปลา การวิเคราะห์ด้วยหลักการทำงาน ECRS (การกำจัด, การรวมกัน, การจัดใหม่, การทำให้ง่าย) การออกแบบผังงาน และแผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลและการสร้างระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร เป็นเครื่องมือวิจัยและวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาด้วยความถี่และร้อยละผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันบริษัทกำลังประสบปัญหาความล่าช้าในกระบวนการคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง จากการไม่เชื่อมต่อของข้อมูลเแต่ละแผนกใช้ระบบที่แยกกัน ของระบบควบคุมการผลิตและสินค้าคงคลัง และระบบบัญชีสำเร็จรูป เมื่อข้อมูลไม่ได้เชื่อมต่อกัน เกิดการทำงานซ้ำซ้อนและไม่สอดคล้องกัน เกิดความล่าช้าในการสื่อสารข้อมูลและการทำงานที่ซ้ำซ้อน สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อคือ การขาดการเชื่อมโยงกันของระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในบริษัท จึงมีการวิเคราะห์และออกแบบระบบโดยแผนภาพการไหลของข้อมูล มีผู้ที่เกี่ยวข้องต่อระบบ 8 ส่วน ได้แก่ ลูกค้า ฝ่ายขาย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการบัญชีและการเงิน ฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายผลิต ฝ่ายขนส่ง ได้นำหลักการ ECRS เพื่อลดความสูญเปล่าได้ถึง 20 ขั้นตอน จึงเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อจากการสร้างแบบจำลองระยะเวลาดำเนินการในการปรับปรุงระยะเวลาในการกระบวนการ 263.30 นาที เหลือ 137.30 นาที ลดลง 129.57 นาทีต่อคำสั่งซื้อ คิดเป็นร้อยละ 47.94 ต่อคำสั่งซื้อ เมื่อนำมาใช้จริงจำนวนคำสั่งซื้อที่ล่าช้าก่อนปรับปรุง 75 คำสั่งซื้อ เหลือ 4 คำสั่งซื้อ ลดลง 71 คำสั่งซื้อ คิดเป็นร้อยละ 94.67 ในขณะที่ระยะเวลาความล่าช้าคำสั่งซื้อก่อนปรับปรุง 1,964 นาที เหลือ 37 นาที ลดลง 1,927 นาที คิดเป็นร้อยละ 98.12
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ