การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อยกระดับการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
รหัสดีโอไอ
Creator ธรรณิการ์ ทองอาด
Title การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อยกระดับการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
Contributor รุ่งนิรันดร์ สุขอร่าม, ประยุทธ สุดาทิพย์
Publisher สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2567
Journal Title วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 51-66
Keyword โรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์, G6PD เชิงปริมาณ, อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาโรคไข้มาลาเรีย
URL Website https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
Website title https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
ISSN 3057-0824
Abstract การศึกษาแบบ Action Research มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินผลการเพิ่มระดับความรู้และความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 2) พัฒนาและประเมินผลกระบวนการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหายขาดตามแนวทางการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และ 3) พัฒนาและประเมินผลการเพิ่มความรู้ในการตรวจ G6PD เชิงปริมาณใช้ในการสนับสนุนการรักษาตามแนวทางการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างคือ แพทย์ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทางห้องปฏิบัติการ นักวิชาการสาธารณสุข และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานมาลาเรีย ทำการศึกษาในพื้นที่ 6 จังหวัดไข้สูง ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และจากโรงพยาบาลทั้งหมด 29 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 111 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึง พฤษภาคม 2567 จากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม 2) คู่มือสำหรับวิทยากรสำหรับการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ 3) เครื่องมือตรวจวัดเอนไซม์ G6PD Biosensor วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างคะแนนก่อนและหลังอบรม ผลการศึกษาสถานการณ์ปัญหา พบว่า ต้องดำเนินมาตราการลดการแพร่เชื้อโดยการรักษาโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์แบบหายขาดโดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์แบบหายขาดในด้านความรู้ การติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และการตรวจเอนไซม์ G6PD เชิงปริมาณ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาและประเมินผลการเพิ่มความรู้ พัฒนาระบบการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มตัวอย่าง ผลประเมินการพัฒนาการเพิ่มระดับความรู้และความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์พบว่า ก่อนเข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยพื้นฐานความรู้ที่ 10.26 คะแนน (SD±3.62) หลังการอบรมคะแนนเฉลี่ยพื้นฐานความรู้เพิ่มขึ้นเป็น 16.18 คะแนน (SD±2.67) โดยผลการทดสอบความแตกต่างคะแนนก่อนและหลังการอบรมมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) ผลประเมินการพัฒนาระบบการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหายขาด จากฐานข้อมูล Thai Vigibase ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2567 พบว่า ไม่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาทาฟีโนควิน และยาไพรมาควิน 7 วัน และสำหรับผลประเมินการพัฒนาการเพิ่มความรู้ในการตรวจ G6PD เชิงปริมาณหลังการอบรมพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถผ่านการทดสอบปฏิบัติการตรวจ G6PD เชิงปริมาณพร้อมการทดสอบการแปลผลโดยมีคะแนนเฉลี่ย 8.87 คะแนนจาก 10 คะแนน (SD±0.8) การประเมินวัตถุประสงค์ความรู้ในการตรวจ G6PD เชิงปริมาณ ได้ตรวจทั้งหมด 1,610 ราย พบผู้ป่วยมีภาวะเอนไซม์ปกติ ร้อยละ 69.07 มีภาวะเอนไซม์พร่องบางส่วน ร้อยละ 20.50 และมีภาวะพร่องเอนไซม์ ร้อยละ 10.43 การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การอบรมสามารถพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ตามแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องส่งผลดีต่อคุณภาพการรักษาและลดอัตราการเสียชีวิตจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาโรคไข้มาลาเรีย ซึ่งในปี 2567 พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้มาลาเรียจำนวน 2 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2567) ลดลงจากปี 2566 (4 ราย)(4) นำไปสู่การพัฒนาระบบการรักษามาลาเรียชนิดไวแวกซ์ขั้นหายขาดที่มีประสิทธิภาพและเพื่อบรรลุเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขในการกำจัดโรคไข้มาลาเรียภายในปี 2569 โดยจะมีการติดตามผลของการพัฒนาศักยภาพต่อไป
สถาบันราชประชาสมาสัย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ