![]() |
ความก้าวหน้าในนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นิธิศ สมานทอง |
Title | ความก้าวหน้าในนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ |
Contributor | ชลันทร ทวีกุลกิจ, รชฏ คุณกิจกำจร, ปองคุณ เถรว่อง, นะห์ดีนา ลายู, วรกร ฤกษ์สมถวิล |
Publisher | สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 38-50 |
Keyword | ปัญญาประดิษฐ์, โรคอัลไซเมอร์, ภาวะสมองเสื่อม |
URL Website | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
Website title | https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi |
ISSN | 3057-0824 |
Abstract | โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่มีแนวโน้มของจำนวนผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นรวมถึงประเทศไทย การวินิจฉัยโรคโดยทั่วไปมุ่งเน้นการประเมินลักษณะโดยรวมทางด้านคลินิกของผู้ป่วย ซึ่งมีข้อจำกัดเนื่องจากไม่สามารถตรวจด้วยการผ่าตัด เพื่อศึกษาเนื้อเยื่อสมองได้ ทำให้การวินิจฉัยโรคช่วงระยะเริ่มต้นที่ยังไม่แสดงอาการเกิดความล่าช้าเนื่องจากการดำเนินของโรคในระยะแรกที่เริ่มมีการสะสมโปรตีนที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาทโดยไม่แสดงอาการทางคลินิกที่จำเพาะต่อโรคการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ สำหรับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ที่รวดเร็ว จึงมีความจำเป็นในยุคสังคมสูงวัย ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เริ่มเข้ามามีบทบาทในการช่วยวินิจฉัย และรักษาโรคมากขึ้น จึงอาจเป็นทางเลือกใหม่ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในด้านการใช้ประโยชน์ เพื่อการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ผ่าน Google scholarตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ถึง 2024 ซึ่งพบบทความวิชาการจำนวน 16 บทความ และงานวิจัยต้นฉบับ จำนวน 7 เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์แบบองค์รวมได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพถ่ายรังสีวิทยา โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์และการเรียนรู้เชิงลึก ผ่านขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยชุดคำสั่ง เพื่อจำแนกลักษณะความผิดปกติจากชุดข้อมูลที่ผู้สอนใช้ทดสอบปัญญาประดิษฐ์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ในปริมาณมากในระยะเวลาสั้น และมีความแม่นยำสูง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ยังคงอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อยกระดับการวินิจฉัยให้มีความแม่นยำและถูกต้องยิ่งขึ้น |