ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคหิดในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรัง
รหัสดีโอไอ
Creator วรพล เวชชาภินันท์
Title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคหิดในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรัง
Contributor วรพล เวชชาภินันท์, ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์, ธนภรณ์ ศักดิ์แก้ว
Publisher สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค
Publication Year 2567
Journal Title วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 29-37
Keyword โรคหิด, การระบาด, เรือนจำ, มาตรการควบคุม
URL Website https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
Website title https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
ISSN 3057-0824
Abstract สภาพแวดล้อมที่แออัดและสุขอนามัยของผู้ป่วย ส่งผลต่อการระบาดของโรคหิดซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะบริบทเรือนจำ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการอยู่รวมกันของคนเป็นจำนวนมากและมีการใช้สิ่งของร่วมกัน การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคหิดในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรัง วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรังทุกคนที่ตรวจรักษาทางไกลด้านโรคผิวหนังระหว่างเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2566 โดยทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ และตรวจคัดกรองโรคหิดและปัจจัยเสี่ยง โดยพยาบาลวิชาชีพ และตรวจวินิจฉัยโรคหิดด้วยการส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการด้วยการขูดผิวหนังผู้ป่วยบริเวณที่มีรอยโรค เพื่อตรวจหาตัวหิดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตลอดจนสำรวจสภาพแวดล้อมในเรือนจำวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้ Chi-square Test และ Fisher’s exact Test เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคหิดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา: ผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 272 ราย เป็นเพศชาย 262 คน (96.7%) มีอายุเฉลี่ย 37.6 (±10.75) ปี กว่าครึ่งอาศัยในแดน 1 (52.2%) พบว่าเป็นโรคหิด 156 ราย (57.4%) อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ คันและผื่นตุ่มแดง (52.6%) รองลงมามีอาการคันเวลากลางคืนและผื่นตุ่มแดง (26.9%) รอยโรคที่พบมากที่สุดคือ บริเวณง่ามนิ้วมือ (47.4%) รองลงมาคือ บริเวณอวัยวะเพศ (39.7%) พฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญคือ การสัมผัสและใช้เสื้อผ้าร่วมกับบุคคลที่เป็นโรคหิด (63.5%) รองลงมาคือ นอนข้างผู้ป่วยโรคหิด (26.1%) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพื่อหาโอกาสการเกิดโรคหิดของผู้ต้องขังในเรือนจำ พบว่า การสัมผัสและใช้เสื้อผ้าร่วมกับผู้ป่วยโรคหิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเกิดโรคหิด (COR = 1.58, 95% CI: 1.10 - 2.27) มีประวัตินอนข้างผู้ป่วยโรคหิด มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเกิดโรคหิด (COR = 1.36, 95% CI: 1.14 - 1.62) ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในเรือนจำน้อยกว่า 12 เดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหิด (COR = 0.98 95%CI 0.94 - 1.02) ผลการสำรวจสภาพแวดล้อมในเรือนจำ พบว่า มีความแออัดในห้องนอนมีพื้นที่เฉลี่ยเพียง 1.2 ตารางเมตรต่อคนและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อทำความสะอาดร่างกาย
สถาบันราชประชาสมาสัย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ