![]() |
การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วัศพล จันพายัพ |
Title | การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ |
Contributor | เทวรัตน์ ตรีอำนรรค, กระวี ตรีอำนรรค |
Publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Journal Vol. | 18 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 175-187 |
Keyword | โรงเรือนเพาะปลูก, ระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ, อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ |
URL Website | https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP |
Website title | วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
ISSN | 3027-8260 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในโรงเรือนเพาะปลูกที่ติดตั้งระบบทำความเย็นแบบแผ่นระเหยน้ำ ระบบการควบคุมแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่ ระบบควบคุมอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส ระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ที่ร้อยละ 70 และระบบควบคุมแรงดึงระเหยน้ำของอากาศที่ 0.85 กิโลปาสคาล พบว่าระบบควบคุมอุณหภูมิสามารถควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยให้มีค่าประมาณ 25 องศาเซลเซียสได้ในวันที่อากาศมีอุณหภูมิไม่สูง แต่ในวันที่อุณหภูมิของอากาศสูงระบบไม่สามารถควบคุมหรือลดอุณหภูมิเฉลี่ยภายในโรงเรือนให้มีค่าตามที่กำหนดได้ แต่จะสามารถควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยภายในโรงเรือนให้มีค่าต่ำกว่าภายนอกโรงเรือนอยู่ประมาณ 5-7 องศาเซลเซียส ระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์สามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยภายในโรงเรือนได้ทุกวันที่ทำการทดสอบให้มีค่าประมาณร้อยละ 70 แต่อุณหภูมิเฉลี่ยภายในโรงเรือนมีค่าสูงประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส และระบบควบคุมแรงดึงระเหยน้ำของอากาศสามารถควบคุมให้มีค่าตามที่กำหนดได้บางช่วงเวลา โดยจะแปรผันไปตามอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ซึ่งค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยภายในโรงเรือนยังอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชในโรงเรือน การใช้น้ำและพลังไฟฟ้าของระบบนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการทำงานของระบบควบคุมเป็นหลัก โดยในวันที่อากาศมีอุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำ จะทำให้มีการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าที่สูง เนื่องจากระบบควบคุมใช้เวลาในการทำงานที่ยาวนานขึ้นและใช้น้ำปริมาณมากขึ้นในการระเหยเพื่อเติมไอน้ำเข้าไปในอากาศจนกว่าจะได้ค่าตามที่กำหนด ซึ่งระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุดและระบบควบคุมอุณหภูมิมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด จึงทำให้ระบบควบคุมอุณหภูมินั้นมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และระบบควบคุมแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ |