![]() |
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธัญวดี กำจัดภัย |
Title | การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
Contributor | ภัทร์พงศ์ พงศ์ภัทรกานต์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 77 |
Keyword | การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง, ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์, การเรียนรู้ตลอดชีวิต |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง 2) ศึกษาการสร้างและหาประสิทธิภาพการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง 3) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวและนักทัศนาจรชาวไทย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินแบบออนไลน์ ได้แก่ 1) แบบประเมินความต้องการจำเป็น 2) แบบประเมินการสร้างและหาประสิทธิภาพ 3) แบบประเมินการทดลองใช้และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการเรียนรู้เสมือนจริง ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง อยู่ในระดับดีมาก (4.63) ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินและแบบทดสอบ เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test Dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นด้านการสำรวจสภาพปัญหาสำหรับนักท่องเที่ยว พบปัญหาการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ช้า ปัญหาการจองที่พักหรือที่พักไม่เหมาะสม ปัญหาการจราจรและการเดินทางที่แออัดมาก และปัญหาการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองที่ความหนาแน่นมาก ไม่สะดวกสบายในการเดินทางเป็นคำตอบที่เลือกมากที่สุด 2) การสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงทำงานอย่างราบรื่นโดยไม่มีปัญหาทางเทคนิค มีค่าเฉลี่ย 4.60 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 3) นักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างทดสอบการใช้งานสื่อการเรียนรู้เสมือนจริง ได้ผลคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงที่พัฒนาขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 4) ความพึงพอใจในภาพรวมค่าเฉลี่ย 4.56 อยู่ในระดับมากที่สุด |