![]() |
การพัฒนาทักษะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ฐานิตา อามิตตา |
Title | การพัฒนาทักษะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือ |
Contributor | ธนาดล สมบูรณ์, วีระ วงศ์สรรค์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 61 |
Keyword | นาฏยศัพท์และภาษาท่า, ทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ, กลุ่มภาคเหนือ |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 3) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนนาฏศิลป์ และ 4) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่าโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากรประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 189 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า (3) แบบวัดทักษะปฏิบัติ (4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (5) แบบวัดเจตคติของนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะปฏิบัติทางการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่า ตามแนวคิดทักษะของแฮร์โรว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเท่ากับ 90.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 3) นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 85.70 และ 4) นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนนาฏศิลป์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |