![]() |
การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร |
Title | การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป |
Contributor | ภาสกร เรืองรอง, พิชญาภา ยวงสร้อย |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 227 |
Keyword | ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การรู้สารสนเทศ |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ แบบประเมินรับรองคุณภาพ ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลป มีทั้งสิ้น 9 องค์ประกอบหลัก และ 38 องค์ประกอบย่อย โดย 7 องค์ประกอบหลักด้านบริบท ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านสื่อการสอน 2) องค์ประกอบด้านผู้สอน 3) องค์ประกอบด้านเนื้อหาวิชา 4) องค์ประกอบด้านผู้เรียน 5) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 6) องค์ประกอบด้านวิธีการสอน และ 7) องค์ประกอบด้านการประเมินผล และ 2 องค์ประกอบหลักด้านกระบวนการ ได้แก่ ด้านขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) ผลการหาคุณภาพของรูปแบบผู้เชี่ยวชาญมีความเห็น ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?ar{X}= 4.43, S.D. = 0.20) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบที่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?ar{X}= 4.51, S.D.=0.66) และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (gif.latex?ar{X}= 4.59, S.D.=0.76) และองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมในระดับมาก คือ ด้านสื่อการสอน (gif.latex?ar{X}= 4.47, S.D.=0.67) ด้านผู้สอน (gif.latex?ar{X}= 4.42, S.D.=0.77) ด้านเนื้อหาวิชา (gif.latex?ar{X}= 4.42, S.D.=0.71) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (gif.latex?ar{X}= 4.45, S.D.=0.71) ด้านผู้เรียน (gif.latex?ar{X}= 4.43, S.D.=0.69) ด้านขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ (gif.latex?ar{X}= 4.38, S.D.=0.71) และด้านวิธีการสอน (gif.latex?ar{X}= 4.37, S.D.=0.73) ตามลำดับ ทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นรับรองคุณภาพของรูปแบบทุกองค์ประกอบ |