![]() |
การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จิราภรณ์ มีสง่า |
Title | การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา |
Contributor | ศิริพล แสนบุญส่ง |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 211 |
Keyword | แอปพลิเคชัน, การคิดขั้นสูง, นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 106 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูง (2) แบบวัดการคิดขั้นสูง และ (3) แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงใช้แนวคิดของ ADDIE Model โดยแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้ทั้งสมาร์ตโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ มีลักษณะเป็นเกมที่ผู้เล่นสามารถเข้าใช้งานง่าย ขั้นตอนวิธีการเล่นไม่ซับซ้อน มีสถานการณ์เป็นภาพตัวการ์ตูน สีสันสวยงาม มีเสียงบรรยายประกอบภาพเคลื่อนไหว มีเสียงดนตรี มีคำถามเลือกตอบเกี่ยวกับการคิดขั้นสูง และมีการรายงานผลคะแนน และผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันจากผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวมอยู่ระดับมาก และ 2) ผลการใช้แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา พบว่า หลังการใช้แอปพลิเคชัน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีความสามารถในการคิดขั้นสูงสูงกว่าก่อนการใช้แอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชันภาพรวมอยู่ในระดับมาก |