แนวทางการจัดการความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ภาคตะวันตกของประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator อัศนัย แย้มอาษา
Title แนวทางการจัดการความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ภาคตะวันตกของประเทศไทย
Contributor ทักษญา สง่าโยธิน
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2568
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 8
Journal No. 2
Page no. 99
Keyword ความเสี่ยง, การจัดการความเสี่ยง, คอนกรีตผสมเสร็จ, อุตสาหกรรม
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กรและนอกองค์กร 2) วิเคราะห์ระดับและจัดลำดับความเสี่ยง 3) ศึกษาประเภทปัจจัยความเสี่ยง 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงภายในองค์กร ภายนอกองค์กร ระดับและลำดับความเสี่ยง และปัจจัยมีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยง และ 5) นำเสนอแนวทางการจัดการความเสี่ยง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่คัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าของกิจการ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ จำนวน 30 คน และผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 6 คน วิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยเสี่ยงภายในองค์กร คือ วัฒนธรรมองค์กร นโยบายการบริหาร แผนอัตรากำลัง กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ ส่วนปัจจัยเสี่ยงภายนอกองค์กร คือ การลดต้นทุนการผลิต และสถานการณ์การเมือง ด้านการตลาดเกี่ยวกับการให้บริการ มาตรฐานคุณภาพสินค้า การพัฒนาและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านแผนรองรับภัยธรรมชาติ กิจกรรม CSR และความเชื่อมั่นภาพลักษณ์องค์กร 2) ระดับและลำดับความเสี่ยงพิจารณาถึงโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ความถี่ที่จะเกิดความเสี่ยง แหล่งที่มาของความเสี่ยง ระดับความรุนแรงที่ส่งผลกระทบกับองค์กร ควรมีแผนการประเมินความเสี่ยงอย่างชัดเจน 3) ประเภทปัจจัยความเสี่ยง คือ ด้านการบริหาร ด้านกลยุทธ์การขายและการตลาด ด้านกลยุทธ์การแข่งขัน ด้านการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของพนักงาน ด้านกากรปฏิบัติงาน ด้านกฎระเบียบ และด้านคู่มือการปฏิบัติงานให้ครบทุกขั้นตอน 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กร ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม การบริหารงาน การบริหารคน กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ คู่แข่ง เศรษฐกิจ การเมือง ภัยธรรมชาติ ภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่น เป็นต้น และการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง และ 5) แนวทางการจัดการความเสี่ยง โดยการกำจัดปัจจัยเสี่ยง ลดขนาดความเสี่ยง กระจายความเสี่ยง และยอมรับความเสี่ยง โดยกระบวนการกำกับดูแล พัฒนากลยุทธ์ ปรับปรุงการการบริหารการเงิน และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ