การพัฒนาภูมินิเวศน์ธรรมชาติผ่านกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนพื้นที่ทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
รหัสดีโอไอ
Creator พระครูรัตนสุตาภรณ์
Title การพัฒนาภูมินิเวศน์ธรรมชาติผ่านกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนพื้นที่ทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
Contributor พระราชรัตนสุธี, พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ, พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี, พระสันต์ทัศน์ คมฺภีรปญฺโญ, ณัฏยาณี บุญทองคำ, กษิดิศร์ ชื่นวิทยา
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2568
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 8
Journal No. 2
Page no. 1
Keyword การพัฒนา, การจัดการความรู้, ภูมินิเวศน์
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภูมินิเวศทุ่งแสลงหลวง และ 2) ศึกษาการพัฒนาระบบภูมินิเวศด้วยการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นตัวแทนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเนินมะปราง จำนวน 30 คน ประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาภูมินิเวศทุ่งแสลงหลวงมี มี 2 ประเด็น คือ 1.1) ด้านองค์ความรู้ โดยการสร้างเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำด้านองค์ความรู้ และการรักษาภูมิปัญญา โดยใช้วัดในชุมชนเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูล เป็นแหล่งศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และ 1.2) ด้านการจัดการความรู้ เป็นการจัดแนวทางการเรียนรู้เพื่อตอบสนองชุมชนท้องถิ่นในด้านการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐ ในการจัดการสร้างกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชน ได้แก่ การสร้างฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมกิจกรรมสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อรักษาและสืบทอดภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยหน่วยงานจัดสถานที่เหมาะสมในวัดเป็นจุดบูรณาการต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่สามารถศึกษาความรู้ ข้อมูลอัตลักษณ์ชุมชนได้ตลอดทั้งปี และ 2) การพัฒนาระบบภูมินิเวศด้วยการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน พบว่า 2.1) การให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ให้รู้จักธรรมชาติ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ โดยให้มีการศึกษาถึง นิเวศวิทยา และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ในการดำรงชีวิต ให้ผสมกลมกลืน กับธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ 2.2) การสร้างจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการทำให้บุคคล เห็นคุณค่าและตระหนัก ในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ โดยการให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจ ของบุคคล 3) การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ดำรงชีวิต จะเป็นสิ่งที่เกิดตามมา จากการให้การศึกษาและการสร้างจิตสำนึก ทำให้มีการดำรงชีวิต โดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ