![]() |
“ตุลาการภิวัฒน์” ในฐานะปรากฎการณ์สากลนิยม : กับข้อถกเถียงทางทฤษฎีว่าด้วยการเคลื่อนตัวเข้าสู่พรมแดนการใช้อำนาจเชิงรุกในทางการเมือง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จาตุรงค์ สุทาวัน |
Title | “ตุลาการภิวัฒน์” ในฐานะปรากฎการณ์สากลนิยม : กับข้อถกเถียงทางทฤษฎีว่าด้วยการเคลื่อนตัวเข้าสู่พรมแดนการใช้อำนาจเชิงรุกในทางการเมือง |
Contributor | วีระ หวังสัจจะโชค |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 381 |
Keyword | ตุลาการภิวัฒน์, การใช้อำนาจเชิงรุก, การตรวจสอบทบทวนข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์ข้อถกเถียงว่าด้วยแนวคิด “ตุลาการภิวัฒน์” กับการขยายอำนาจของฝ่ายตุลาการเข้าสู่พรมแดนทางการเมืองในบริบทสากล ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวเริ่มมีบทบาทเชิงรุกมากขึ้นจากการเข้าไปมีอำนาจตรวจสอบ ทบทวนข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า “Judicial Redownloads” และก่อเกิดคำวินิจฉัยในทางก้าวหน้าที่เป็นการจำกัดอำนาจรัฐ ขยายสิทธิของประชาชน ซึ่งถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยในยุโรปนิยมเรียกกระบวนการนี้ว่า “Judicialization Of Politics” และในอเมริกาเรียกว่า “Judicial Activist” หากแต่ปรากฎการณ์ดังกล่าวมีการนิยามในความหมายที่ซับซ้อนมากขึ้น ด้วยการนำไปใช้ในบริบทการเมืองอันหลากหลาย ดังจะเห็นว่าในบริบทประเทศประชาธิปไตยใหม่ การใช้อำนาจเชิงรุกของฝ่ายตุลาการกลับถูกตั้งคำถามว่าเป็นการตีความกฎหมายในเชิงลบ เช่น คำพิพากษายอมรับการรัฐประหาร การยุบพรรคการเมือง หรือการถูกวิพากษ์ว่า ตุลาการภิวัฒน์ในหลายกรณีได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือของฝ่ายผู้ครองอำนาจทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ตุลาการภิวัฒน์ควรต้องถูกทำความเข้าใจด้านจุดมุ่งหมายอย่างสำคัญว่า กรณีใดเป็นไปในเชิงบวกอันต้องสอดคล้องกับการใช้อำนาจในเชิงตรวจสอบ ถ่วงดุลหลักการความเป็นประชาธิปไตย หรือในเชิงลบที่เป็นการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มพลังอื่น ๆ เพื่อแทรกแซงการเมืองโดยคำพิพากษา จนส่งผลต่อวิกฤตศรัทธาในทางตุลาการในหลายประเทศ |