รูปแบบกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาปฐมวัยที่เน้นสาระท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF
รหัสดีโอไอ
Creator มนัส จันทร์พวง
Title รูปแบบกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาปฐมวัยที่เน้นสาระท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะสมอง EF
Contributor -
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2568
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 273
Keyword กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การพัฒนาหลักสูตร, สถานศึกษาปฐมวัย, ทักษะสมอง EF
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบ 3) นำรูปแบบไปทดลองใช้ และ 4) ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบ ระเบียบวิธีการวิจัยแบผสานวิธีพหุระยะ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากการศึกษา วิเคราะห์เอกสารงานวิจัย การศึกษาบริบทชุมชน ศึกษาความต้องการชุมชน สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์จากผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 200 คน การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยตัวแทนแกนนำผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 15 คน ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน การประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบไปใช้ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 17 คน ครูปฐมวัย จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 60 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลบริบทชุมชนสามารถนำมาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่เน้นสาระท้องถิ่น จำนวน 6 หน่วยการจัดประสบการณ์ มีค่าความเหมาะสมสอดคล้อง IOC เท่ากับ 1.00 2) รูปแบบ คือ PHRAE Model ประกอบด้วย P : Participation by People, H : Heading for Early Childhood, R : Resources and Materials, A : Active Learning และ E : Executive Functions (EF) 3) การนำหลักสูตรไปทดลองใช้ประเมินสามารถส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 81.21 และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้สาระท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 81.15 4) การประเมินพัฒนาทักษะสมอง EF นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรม ประสบการณ์หลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นสาระท้องถิ่นสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ