กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator วงธรรม สรณะ
Title กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
Contributor ขวัญศิริ เจริญทรัพย์, ชูวงศ์ อุบาลี
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 293
Keyword โรงเรียนผู้สูงอายุ, กระบวนการมีส่วนร่วม, สังคมผู้สูงอายุ
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น-ชั้นรอง การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการในโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นและท้องที่ ผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีส่วนร่วมในการก่อรูปโรงเรียนผู้สูงอายุ นับตั้งแต่ พ.ศ.2557 โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาในการบริหารรจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยเชิญครูเกษียณอายุ เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุเข้ามีส่วนร่วม เป็นการขับเคลื่อนโครงการจากระดับฐานราก 2) การมีส่วนร่วมในขั้นวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์วิธีการแนวทางการดำเนินงาน ร่วมกันดำเนินการโดยครูที่เกษียณอายุดำเนินการร่างหลักสูตรและจัดกิจกรรมที่เหมาะสม 3) การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินโครงการ การจัดการเรียนการสอน การสลับบทบาทจากนักเรียนและเป็นผู้สอน โดยเฉพาะในวิชาเกี่ยวกับองค์ความรู้และความถนัดของผู้สูงอายุแต่ละคนและมีหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา สาธารณสุข เข้าร่วมทำกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น กรณีด้านสาธารณสุข มีการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้น ตรวจวัดความดัน เป็นต้น และ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการโดยการประชุมร่วมกัน พบว่าหลังจากเปิดโรงเรียน มีผู้สูงอายุที่เรียนครบตามหลักสูตรแต่ยังคงมีความผูกพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน “เรียนจบแล้วแต่ไม่ยอมจบ” “อาการป่วยซึมเศร้าบรรเทาลง” ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่มีการปรับปรุงหลักสูตร เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดอาชีพ เกิดรายได้ เกิดความผูกพันและผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ