การจัดทำชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับความยากง่ายสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ
รหัสดีโอไอ
Creator เหงียน ถิ เชียม
Title การจัดทำชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับความยากง่ายสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ
Contributor -
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 229
Keyword ชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับ, การอ่านกว้างขวาง, ภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำชุดบทอ่านภาษาเวียดนามที่แบ่งตามระดับง่ายถึงยากใช้ในการอ่านภาษาเวียดนามอย่างกว้างขวางสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ เริ่มจากการแบ่งระดับผู้เรียนภาษาเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับอิงตามการวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ และกรอบความสามารถทางภาษาเวียดนามสำหรับคนต่างชาติที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศเวียดนามได้แก่ ระดับพื้นฐาน A1, A2 ระดับกลาง B1, B2 และระดับสูง C1, C2 ในการสร้างชุดบทอ่านภาษาได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินความยากแต่ละระดับโดยพิจารณาจากการกำหนดปริมาณเฉพาะ 4 ปัจจัยในแต่ละบท ได้แก่ 1) จำนวนคำที่แตกต่างกันโดยเฉลี่ยในบทอ่าน 2) เปอร์เซ็นต์ของคำเดี่ยว คำซ้อน 2 พยางค์ และ 3 พยางค์ขึ้น 3) จำนวนประโยคเฉลี่ยในบทอ่าน 4) ความยาวของประโยคในบทอ่านโดยเป็นจำนวนคำถัวเฉลี่ยในแต่ละประโยค เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมกับเชิงปริมาณ คือใช้ข้อมูลภาษาที่วัดระดับความยากสำหรับเจ้าของภาษาแล้วสร้างเกณฑ์ใหม่โดยการลดความยากนี้ลงตามระดับที่ต่ำกว่าเพื่อปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนชาวไทย โดยการใช้เครื่องมือสถิติทางภาษาศาสตร์ในการหาตัวเลขปริมาณเฉพาะดังกล่าวคือ ซอฟต์แวร์ AntConc และสถิติความสามารถในการอ่านใน Microsoft Word ผลการวิจัยพบว่าบทอ่านจำนวน 137 จาก 180 บทอ่านที่เหมาะกับเกณฑ์ใหม่ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศ โดย 6 ระดับ (A1-C2) มีจำนวนคำที่แตกต่างกันโดยเฉลี่ยในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 32 คำถึง 1,046 คำ เปอร์เซ็นต์ของคำเดี่ยวลดลงตั้งแต่ 0.9% ถึง 2.2% เปอร์เซ็นต์ของคำซ้อน 2 พยางค์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 0.7 % ถึง 1.4% เปอร์เซ็นต์ของคำซ้อน 3 พยางค์ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 0 % ถึง 3 % จำนวนประโยคเฉลี่ยในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 6 ถึง 174 ประโยค ความยาวของประโยคในบทอ่านเพิ่มขึ้นจาก 4.8 คำ ถึง 25.3 คำ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ