การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไรซ์เบอร์รี่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator นันทนา แจ้งสว่าง
Title การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไรซ์เบอร์รี่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
Contributor สุกัญญา พยุงสิน, ดวงใจ บุญกุศล
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2567
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 7
Journal No. 6
Page no. 195
Keyword การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ข้าวไรซ์เบอร์รี่, วิสาหกิจชุมชน
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2) วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์จากไรซ์เบอร์รี่ และ 3) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์จากไรซ์เบอร์รี่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษทำการผลิตข้าวข้าวไรซ์เบอร์รี่ และมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกกลุ่ม จนสามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวไรส์เบอร์รี่ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ และอาหารเช้าซีเรียลข้าวไรซ์เบอร์รี่อบกรอบ โดยสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และทราบต้นทุนการผลิตพร้อมกำหนดราคาขายตามกำไรที่ต้องการ 40% ของต้นทุนการผลิต คือ 1.1) ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ มีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 4.53 บาทต่อชิ้น กำหนดราคาขายเท่ากับ 6.34 บาทต่อชิ้น และ 1.2) ผลิตภัณฑ์อาหารเช้าซีเรียลข้าวไรซ์เบอร์รี่อบกรอบ มีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 22.20 บาทต่อถุง กำหนดราคาขายเท่ากับ 31.08 บาทต่อถุง 2) ส่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการผลิตภัณฑ์ ตามวิธีการ Association of Official Analytical Chemists (AOAC) และ 3) พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้กลุ่มสมาชิกเกิดความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ทั้งด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์และด้านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ