![]() |
การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พีรกฤต เครือลุนทีระยุทธ |
Title | การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา |
Contributor | ธีระพงษ์ มีไธสง, ฉลอง พันธ์จันทร์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 183 |
Keyword | นวัตกรรม, บูรณาการ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, พระพุทธศาสนา |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบูรณาการเรียนรู้วิชาพุทธศาสนาด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 2) สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาที่บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาจากการการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ สิม คะลำ ผ้าผะเหวด ขันหมากเบ็งและการแปรรูปปลา สามารถนำเอาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการแบบสหวิทยาการกับหลักสูตรสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมระดับห้องเรียน 2) นวัตกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการ SAAOL ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สำรวจระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 รวบรวมผลการสำรวจระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระบบนิเวศวิทยาการเรียนรู้ ขั้นที่ 4 สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้หลากมิติ และขั้นที่ 5 เชื่อมโยงผลลัพธ์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สู่วิถีชีวิต ทำให้เกิดความพึงพอใจของครูต่อผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมที่มีคุณค่าและความหมายต่อผู้เรียน ระดับมากที่สุด |