![]() |
ศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พัชญทัฬห์ กิณเรศ |
Title | ศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม |
Contributor | - |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 167 |
Keyword | ต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหาร, แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน, ชุมชน |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ได้ดำเนินการตามหลักแนวคิดปิรามิดลำดับขั้นของการบริหารจัดการห่วงโซ่อาหารเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ชุมชนวัดมหาธาตุ โดยแยกกลุ่มเป้าหมายเป็น ชุมชนวัดมหาธาตุ จำนวน 58 ครัวเรือน วัดมหาธาตุ จำนวน 1 แห่ง และโรงเรียนสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง แปลงผักริมโขง จำนวน 1 แห่ง ผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 15 แห่งซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานมี ดังนี้ 1) ศึกษาปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเมืองร่วมกันตั้งแต่สำรวจปริมาณขยะรายครัวเรือน สังเกตพฤติกรรมการทิ้งขยะในชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 2) ชี้แจงโครงการแก่ชุมชน จัดตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ และหน่วยงาน วางแผนการดำเนินกิจกรรม ร่วมทดลองดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ในโครงการ ประเมินผล และพัฒนาปรุงปรุงกิจกรรมให้เหมาะสมเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ และบูรณาการใช้มาตรการทางสังคม 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการชุมชนผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมพบว่า ปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 10 เดือน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารสัตว์ จำนวน 6,383 กิโลกรัม (6.383 ตัน) ส่งผลให้ปริมาณขยะอาหารที่ปะปนไปกับขยะประเภทอื่น ณ หลุมฝังกลบ คิดเป็นอัตราร้อยละที่ลดลง เท่ากับ ร้อยละ 56.41 จากความร่วมมือของโครงการและสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครพนม พบว่า สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 3,245.06 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากความพยายามของโครงการในการลดปริมาณขยะอาหารที่ปะปนไปกับขยะทั่วไป ด้วยการเพิ่มมูลค่าจากขยะอาหารไปสู่อาหารสัตว์นั้น ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณขยะอาหาร และมีส่วนสนับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |