![]() |
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับ การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มนัส จันทร์พวง |
Title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับ การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 |
Contributor | - |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 7 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 81 |
Keyword | การพัฒนารูปแบบ, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, การเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐาน, ทักษะในศตวรรษที่ 21 |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยแบบผสม โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทฤษฎี เอกสารงานวิจัย หนังสือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การศึกษาสภาพปัจจุบันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน การประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบไปใช้ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 80 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนการสอนสามารถพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด โดยเรียนรู้จากประสบการณ์จริงร่วมกับชุมชน ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้จากการทำโครงงาน การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับอัตลักษณ์นักศึกษาวิทยาลัยชุมชน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 (HEART Model) มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน (4) การวัดและประเมินผล และ 3) ประเมินรูปแบบ ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 |