การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
รหัสดีโอไอ
Creator ปิยะภรณ์ ปิยะแสงทอง
Title การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Contributor รสวลีย์ อักษรวงศ์, ชวลิต ชูกำแพง
Publisher มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
Publication Year 2566
Journal Title The Journal of Research and Academics
Journal Vol. 6
Journal No. 5
Page no. 13-28
Keyword ความต้องการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้, ความสามารถในการจัดการเรียนรู้, ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
URL Website https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
Website title https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index
ISSN ISSN 2672-9962 (Online)
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 500 คน สุ่มเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละภาค 5 ภาค และสุ่มจับฉลากรายชื่อโรงเรียนตามขนาดของโรงเรียน แล้วทำการสุ่มจับฉลากครูในโรงเรียนแต่ละขนาด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (?x = 3.94, S = 0.66 และ ?x = 4.21, S = 0.70) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ด้านบูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการวางแผนและจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญารู้คิด และมีความเป็นนวัตกร 3) ด้านการดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ สามารถรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ 4) ด้านการจัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนโดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้เรียน 5) ด้านการวิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 6) ด้านการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อจัดลำดับตามความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู ที่ต้องการได้รับการส่งเสริม คือ ด้านการวิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นจึงควรมีกระบวนการสนับสนุนให้ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้านนี้ให้เพิ่มมากขึ้น
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ