![]() |
การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของตลาดสดในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สิริมาส หมื่นสาย |
Title | การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของตลาดสดในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Contributor | ธีรภัทร กิจจารักษ์, สมพิศ สายบุญชื่น, สุภชัย ตรีทศ, โดมธราดล อนันตสาน, อรุณ สนใจ, กมลวิช ลอยมา |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 197-206 |
Keyword | การมีส่วนร่วม, การจัดการขยะอย่างยั่งยืน, แนวทางการจัดการขยะชุมชนตลาดสด |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะตลาดสด ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะตลาดสด ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการขยะตลาดสด ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บและรวบรวมข้อมูลจากแม่ค้าในชุมชนตลาดสด จำนวน 200 แผง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาดัชนีความสอดคล้องด้วยเทคนิค IOC มีค่าเท่ากับ 0.75 ค่าความเชื่อถือของแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยค่า t-test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ใช้ One- way ANOVA หรือ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนตลาดสดในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (?= 2.50) ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือการมีส่วนร่วมในการวางแผน (? = 2.72) ส่วนข้อที่มีระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย (? = 2.28) 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืนในชุมชนตลาดสด พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือนและระดับการศึกษาที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดการตลาดขยะสดไม่ต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการจัดการขยะชุมชนตลาดสดนั้นควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการขยะให้มีความเหมาะสมกับข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ของตลาด |