![]() |
การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นงลักษณ์ ใจฉลาด |
Title | การบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา |
Contributor | อนันต์ นามทองต้น |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 277-288 |
Keyword | การบริหารจัดการ, สถานศึกษาพอเพียง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและศึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี มี 2 ขั้นตอน คือ 1) การสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกและแบบสังเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 122 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึก และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์และเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 คำนวณค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และคำนวณหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีจำนวน 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1.1) การบริหารจัดการแบบร่วมมือ 1.2) การกำหนดนโยบายโดยมีส่วนร่วม 1.3) การจัดหลักสูตรเชิงบูรณาการ 1.4) การจัดการเรียนรู้คู่คุณธรรม 1.5) การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา และ 1.6) การตรวจสอบผลผลิตและผลลัพธ์ มีจำนวน 17 องค์ประกอบย่อย จำนวน 64 รายการ และ 2) ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า มีการปฏิบัติการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบหลัก โดยองค์ประกอบหลักที่ 6 การตรวจสอบผลผลิตและผลลัพธ์ องค์ประกอบหลักที่ 4 การจัดการเรียนรู้คู่คุณธรรม องค์ประกอบหลักที่ 2 การกำหนดนโยบายโดยมีส่วนร่วม มีการปฏิบัติการบริหารจัดการต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน |