![]() |
ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธินสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นพดล เชิงศิริ |
Title | ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธินสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 |
Contributor | ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, ปทุมพร เปียถนอม |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | The Journal of Research and Academics |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 6 |
Page no. | 179-190 |
Keyword | การบริหารโรงเรียน, ผู้บริหารสถานศึกษา, มุ่งผลสัมฤทธิ์ |
URL Website | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
Website title | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/index |
ISSN | ISSN 2672-9962 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในกลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธิน จำนวน 190 คนจากจำนวนประชากร 365 คน ซึ่งเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามมาตรการวัดของลิเคอร์ท โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่า .98 โดยสถิติที่นำมาใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และค่าที รวมถึงนำไปทดสอบค่าความแปรปรวนเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์ ถ้าพบถึงความแตกต่างจึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน ด้านการวัดการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และด้านการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดตามลำดับ และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูมีต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน สรุปผลได้ ดังนี้ 2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |