![]() |
การพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | มัทนา อินใชย |
Title | การพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ |
Contributor | สิริศักดิ์ รัชชุศานติ, เจิมขวัญ รัชชุศานติ |
Publisher | คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 97-109 |
Keyword | รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS, เกษตรอินทรีย์ |
URL Website | https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus |
Website title | วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
ISSN | ISSN (Online) 3027-6322; ISSN (Print) 3027-6314 |
Abstract | การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนระบบเกษตรอินทรีย์เกษตรกรรายย่อยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมสำหรับเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling ) ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รายย่อยบ้านดอกแดงตำบลสง่าบ้าน อำเภอคอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 22 คน ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) มีกระบวนการศึกษา 3 ขั้นตอน 1) สนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำเกษตรกร เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสม 2) ใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการสร้างองค์ความรู้หลักการเกษตรอินทรีย์ และอบรมเชิงปฏิบัติการจากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ ทดลองทำแปลงสาธิตเพื่อส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3) ทำการตรวจประเมินแปลงเกษตรอินทรีย์ตามขั้นตอนของการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีความรู้ในด้านเกษตรอินทรีย์ แต่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่เพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน แนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนากลุ่มเกษตรกรคือพัฒนาเกษตรกรด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานของการทำเกษตรอินทรีย์และฝึกทักษะที่ถูกต้องในการจัดการพื้นที่ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ ผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายทำให้กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์เกษตรกรยั่งยืนเชียงใหม่ มีคณะกรรมการสมาพันธ์เป็นที่คำปรึกษาด้านเทคนิคการผลิตรวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการระบบเกษตรอินทรีย์แก่กลุ่มเกษตรกร เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนจัดการพื้นที่การเกษตรเข้าเกณฑ์การรับรองและได้รับการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วมหรือ PGS จำนวน 1 ราย |