![]() |
การเปลี่ยนแปลงสี ปริมาณน้ำตาล สารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของผงมะละกอที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้งข้าวหมาก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ฐิติกร พรหมบรรจง |
Title | การเปลี่ยนแปลงสี ปริมาณน้ำตาล สารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของผงมะละกอที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้งข้าวหมาก |
Contributor | บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง, สุวรรณา ผลใหม่, จรินทร์ พูดงาม, ศิริวรรณ ปานเมือง, สิริพงษ์ วงศ์พรประทีป, วรวิทู มีสุข, คมสัน นันทสุนทร, เปรมจิต รองสวัสดิ์ |
Publisher | คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 29-41 |
Keyword | ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, สี, ผลมะละกอ, น้ำตาล, การหมัก |
URL Website | https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus |
Website title | วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
ISSN | ISSN (Online) 3027-6322; ISSN (Print) 3027-6314 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสี พีเอช ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผงมะละกอหมักที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้งที่เวลาต่าง ๆ (0, 6, 12, 18 และ 24 ชั่วโมง). ผลการทดสอบพบว่าการหมักมะละกอที่เวลา 24 ชั่วโมง มีความแตกต่างจากระยะเวลาหมักอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยมีค่าสีในระบบ L*a*b* เท่ากับ 64.22±0.04 (มีความสว่างสูงสุด), 16.10±0.08 (ค่าความเป็นสีแดงต่ำสุด) และ 27.14±0.02 (ค่าความเป็นสีเหลืองมากที่สุด) ตามลำดับ มีพีเอชเมื่อละลายน้ำเท่ากับ 4.59±0.02 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกเท่ากับ 0.63±0.10 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง ส่วนปริมาณน้ำตาลทั้งหมดมากที่สุดที่ระยะเวลาหมัก 18 ชั่วโมง โดยมีค่าเท่ากับ 252.80±65.03 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด และน้ำตาลรีดิวซ์มีปริมาณต่ำสุดที่ระยะเวลาหมัก 12 ชั่วโมง โดยมีค่าเท่ากับ 28.26±3.24 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อหมักที่ระยะเวลาต่าง ๆ โดยมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 1.25±0.40 -1.52±1.52±0.33 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (IC50 ของ BHT เท่ากับ 2.65±0.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นทางเลือกในการแปรรูปมะละกอสุก โดยใช้กระบวนการหมักซึ่งเป็นวิธีการแบบดั้งเดิม ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านองค์ประกอบทางเคมี เช่น การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของพรีไบโอติกหลังการหมัก และคุณสมบัติของอาหารหมักนี้ต่อระบบทางเดินอาหารต่อไป |