การประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอสในการพัฒนาโซ่คุณค่าของกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุบลราชธานี
รหัสดีโอไอ
Creator พชร วารินสิทธิกุล
Title การประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอสในการพัฒนาโซ่คุณค่าของกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุบลราชธานี
Contributor ปดิวรดา ล้อมลาย, จริยา พันธา
Publisher คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Journal Vol. 9
Journal No. 2
Page no. 15-28
Keyword เกษตรอินทรีย์, ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม, ระบบตรวจสอบย้อนกลับ, ระบบคิวอาร์โค้ด, โซ่คุณค่า
URL Website https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus
Website title วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ISSN ISSN (Online) 3027-6322; ISSN (Print) 3027-6314
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (ระบบ QR PGS) ในการพัฒนาโซ่คุณค่าที่เหมาะสมของเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส จังหวัดอุบลราชธานี โดยวิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส จำนวน 5 ราย และคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐาน 5 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านวิธีการการสนทนากลุ่มและการสังเกตการณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งงานวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 2) อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบ QR PGS ให้กับกลุ่มตัวอย่างทั้งเกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐาน 3) ประยุกต์ใช้ระบบกับการทำงานในการทำงานจริง เช่น การตรวจแปลง และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการประยุกต์ใช้ระบบ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานจีพีเอส ประสบปัญหาการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพและการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การประยุกต์ใช้ระบบ QR PGS ช่วยให้เกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานจัดการข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคเพื่อวางแผนการผลิต ลดระยะเวลาในการตรวจประเมินแปลงเกษตรกรเฉลี่ยจาก 1-3 วัน เหลือเพียง 3-6 ชั่วโมง และช่วยลดต้นทุนในการตรวจรับรองมาตรฐาน ซึ่งการที่ระบบสามารถช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับเป็นการช่วยพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่เหมาะสมให้แก่เครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส ผลการประยุกต์ใช้ทำให้เกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับสูง และเห็นว่าระบบนี้สามารถใช้เป็นมาตรฐานการรับรอง PGS ให้แก่เครือข่ายได้ในอนาคต โดยองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับระบบ PGS ไปสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืนในประเทศไทย
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ