![]() |
ภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พระศิวสินธุ์ ฐานสมฺปนฺโน (กันทะเรียน) |
Title | ภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ |
Contributor | สมจิตร ขอนวงค์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Journal of Interdisciplinary Buddhism |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | R1030 |
Keyword | ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารท้องถิ่น, การพัฒนาชุมชน, ตำบลปากกาง |
URL Website | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
Website title | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
ISSN | ISSN 2822-1222 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมือง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับภาวะผู้นำทางการเมือง และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางของภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลปากกางอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยวิธีแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.869 กับกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane จำนวน 366 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชน ตามหลักสาราณียธรรม 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลปากกาง โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) หลักสาราณียธรรม 6 กับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (r=.693**) และ 3) ปัญหาอุปสรรคของภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ พบว่า ผู้บริหารท้องถิ่นลงพื้นที่สำรวจการซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมยังไม่ทั่วถึง การส่งเสริมกลุ่มอาชีพยังไม่มีความต่อเนื่อง การสรรหาอุปกรณ์ในการสำรวจและทำการซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม ในชุมชนไม่ทั่วถึงส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในการรักษาความปลอดภัยยังมีไม่ทั่วถึงครอบคลุมทุกจุดที่เป็นจุดเสี่ยง การจัดสรรงบประมาณ ไม่เพียงพอในการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารท้องถิ่นควรลงพื้นที่สำรวจให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีการซ่อมแซมเส้นคมนาคม ส่งเสริมกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง จัดสรรงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์การรักษาความปลอดภัยและซ่อมแซมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน และเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอในการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น |