![]() |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศตวรรษ สุวรรณลักษณ์ |
Title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ |
Contributor | สมจิต ขอนวงค์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal of Interdisciplinary Buddhism |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 4 |
Page no. | R1010 |
Keyword | ปัจจัย, การตัดสินใจ, การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น |
URL Website | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
Website title | https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij |
ISSN | ISSN 2822-1222 (Online) |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 7,436 คน ได้ประชากรจากการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane จำนวน 380 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักสัปปุริสธรรมส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้แก่ ด้านธัมมัญญุตา, ด้านมัตตัญญุตา และด้านปริสัญญุตา ร้อยละ 67.14 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ประชาชนยังขาดการศึกษาข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัครเลือกตั้ง การหาเสียงของผู้สมัครเลือกตั้งยังขาดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ผู้สมัครเลือกตั้งยังมีแนวทางการทำงานเหมือนเดิมไม่น่าสนใจ การกำหนดนโยบายของผู้สมัครยังขาดความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาของรัฐที่กำหนดไว้ และประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในการนำเสนอนโยบาย ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามาศึกษาข้อมูลของผู้สมัคร และให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเมือง ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการลงหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร ควรกำหนดนโนบายให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับแผนการพัฒนาของรัฐที่กำหนดไว้ และส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมกำหนดนโยบายเพื่อนำมาเป็นแนวทางการทำงาน |