การวิเคราะห์ผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ประจำปีการศึกษา 2564 กรณีศึกษา : คณะหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
รหัสดีโอไอ
Creator ชยภร ศิริโยธา
Title การวิเคราะห์ผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ประจำปีการศึกษา 2564 กรณีศึกษา : คณะหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Publisher Mahidol University
Publication Year 2567
Journal Title Mahidol R2R e-Journal
Journal Vol. 11
Journal No. 3
Page no. 101-115
Keyword การวิเคราะห์ผลประเมิน, เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ, คณะหน่วยงานที่จัดการเรียน
URL Website https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/
Website title Mahidol R2R e-Journal
ISSN 23925515
Abstract การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ผลการศึกษาวิเคราะห์ผลคะแนนการดำเนินงานด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ทั้ง 7 หมวด ประจำปีการศึกษา 2564 ของคณะหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง พบว่า มีคณะหน่วยงานที่ได้คะแนนผลประเมินภาพรวม (หมวด 1-7) สูงสุด ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 175 คะแนน คณะเทคโนโลยี 159 คะแนน คณะวิทยาการสารสนเทศ 145 คะแนน คณะเภสัชศาสตร์ 143 คะแนน และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ 136 คะแนน มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 128 คะแนน และมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ Band 1 2) ผลการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานจุดแข็งและการปรับปรุงด้านกระบวนการและผลลัพธ์จากผลประเมินด้วยเกณฑ์ EdPEx พบว่า 2.1) จุดแข็งด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ คณะหน่วยงานเริ่มแสดงให้เห็นถึงการนำองค์กรที่เป็นระบบ มีกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและรองรับการเปลี่ยนแปลง แสดงถึงความมุ่งมั่นในการนำเกณฑ์ EdPEx ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ 2.2) การปรับปรุงด้านกระบวนการและผลลัพธ์ คณะหน่วยงานควรแสดงการดำเนินงานของกระบวนการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันในทิศทางเดียวกัน เช่น การวางระบบการติดตามผลการดำเนินงานโดยวางระบบลำดับชั้นของการติดตามผลความถี่ของการติดตามที่ประกอบไปด้วยตัววัดผลที่ครอบคลุมทุกพันธกิจ (3) การศึกษาแนวทางการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะหน่วยงานในการยกระดับผลคะแนนการประเมินประกันคุณภาพเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdpEx) พบว่า คณะหน่วยงานควรมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขององค์กร ใน 4 รูปแบบ คือ แบบที่ 1: แผนรวม (Master Plan) แบบที่ 2: แผนเฉพาะด้าน (Specific Area Plan) แบบที่ 3: แผนวัตถุประสงค์เดียว (Single Purpose Plan) และ แบบที่ 4: แผนกิจกรรมการปรับปรุง (Improvement Plan) ที่ช่วยให้คณะหน่วยงานมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายด้านกระบวนการและผลลัพธ์ หมวดที่ 1 – 7 ที่ก้าวสู่เป้า EdPEx200 ต่อไป
Mahidol R2R e-Journal

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ