การสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม กรณีศึกษา “ร้อยแก่นสาร”
รหัสดีโอไอ
Creator พิมพ์พร ภูครองเพชร
Title การสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม กรณีศึกษา “ร้อยแก่นสาร”
Publisher คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ
Journal Vol. 8
Journal No. 1
Page no. 28-42
Keyword การสำรวจ, สถานภาพ, ผู้ประกอบการเพื่อสังคม, ร้อยแก่นสาร
URL Website https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr
Website title วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
ISSN ISSN 3057-000X (Online); ISSN 3056-9990 (Print)
Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม ในกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน “ระดับดี” พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยคือ ได้ข้อมูลสถานภาพ กิจการการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าข่ายลักษณะของกิจการผู้ประกอบเพื่อสังคมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน “ระดับดี” พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม พบว่าพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 11 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 71 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 96 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 4 แห่ง รวม 182 แห่ง พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 7 แห่ง ประเภทเครื่องดื่มจำนวน 2 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 56 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 70 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 4 แห่ง รวม 139 แห่ง และพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 13 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 82 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 51 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 18 แห่ง รวม 164 แห่ง ทรัพยากรพื้นฐานเมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพยากรพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ซึ่งหมายถึง วิสาหกิจชุมชนมีทรัพยากรพื้นฐานเกี่ยวกับด้านทรัพยากรกายภาพ วิสาหกิจชุมชนมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชนทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน นำวัตถุดิบจากแหล่งชุมชนหรือใกล้เคียงมาใช้ในการผลิตสามารถใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ