การพัฒนาและการทดสอบคุณสมบัติการวัดด้านจิตวิทยาของเครื่องมือเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยตอนต้น 9 ข้อ (9 symptoms: 9S)
รหัสดีโอไอ
Creator อภิชญา พลรักษ์
Title การพัฒนาและการทดสอบคุณสมบัติการวัดด้านจิตวิทยาของเครื่องมือเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยตอนต้น 9 ข้อ (9 symptoms: 9S)
Contributor วีร์ เมฆวิลัย, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์
Publisher กรมสุขภาพจิต
Publication Year 2568
Journal Title วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
Journal Vol. 33
Journal No. 1
Page no. 24-33
Keyword เครื่องมือเฝ้าระวัง, สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น, สุขภาพจิตโรงเรียน
URL Website https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht
ISSN 3057-1553
Abstract วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณสมบัติการวัดด้านจิตวิทยาของเครื่องมือเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นไทยตอนต้นวิธีการ : เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาเครื่องมือเฝ้าระวังจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และ 2) ทดสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของเครื่องมือในนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 6 - 15 ปี ใน จังหวัดอุบลราชธานี ประเมินความเที่ยงจากค่าความสอดคล้องภายในด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทดสอบความตรงตามสภาพด้วยการเปรียบเทียบกับแบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (strengths and difficulties questionnaire: SDQ) ด้วยสหสัมพันธ์ของเพียร์สันผล : เครื่องมือเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นไทยตอนต้น (9S) มี 9 ข้อ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัญหาด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ และด้านสัมพันธภาพทางสังคมและการกลั่นแกล้งรังแก มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.60 - 0.80 ค่าความเที่ยงจากความสอดคล้องภายในทั้งฉบับเท่ากับ 0.52 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างคะแนนรวมเครื่องมือ 9S และ SDQ ด้านจุดอ่อนเท่ากับ 0.81 (p < .01)สรุป : เครื่องมือ 9S มีค่าความตรงและความเชื่อมั่นที่ดี ส่วนค่าความสอดคล้องภายในต่ำกว่าระดับยอมรับได้เล็กน้อยเนื่องจากเป็นการวัดหลายมิติ เครื่องมือมีความกระชับและใช้งานง่าย สามารถนำมาใช้เผ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตของเด็กวัยเรียนได้
กรมสุขภาพจิต

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ