การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
รหัสดีโอไอ
Creator ไอดา ยาคอ
Title การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Publisher มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Publication Year 2560
Journal Title วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Journal Vol. 3
Journal No. 1
Page no. 31-42
Keyword การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน, การคิดขั้นสูง
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/jliwu
Website title วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ISSN 2408-2481
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อําเภอลานสกาจังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together : LT)ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนครศรีธรรมราช อําเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชจํานวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจํานวน 34 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 3 สารและสมบัติของสารเรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนครศรีธรรมราช พุทธศักราช 2551 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบ4 ตัวเลือก จํานวน 1 ฉบับ 30 ข้อ ใช้เวลาสอบ 30 นาที 3. แบบทดสอบวัดทักษะ การคิดขั้นสูง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 1 ฉบับ 30 ข้อ ใช้เวลาสอบ 30 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง ค่าอํานาจจําแนก ค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t test ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นมี ประสิทธิภาพเท่ากับ 71.70/81.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ 80/80 2. นักเรียน ที่เรียนด้วยแผนการเรียนรู้แบบร่วมมือตามเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการเรียนรู้แบบร่วมมือตามเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ มีทักษะการคิดขั้นสูงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสรุปผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือตามเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอยู่ในระดับ มากที่สุด ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทักษะทางสังคมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในกลุ่มมีการทํางานร่วมกันอย่างมีความสุข ทําให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกาคิดขั้นสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงสมควรสนับสนุนให้ครูที่ทําการสอนวิชาเคมีนําแผนการเรียนรู้แบบร่วมมือตามเทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน(Learning Together : LT) ไปใช้ให้แพร่หลายต่อไป
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ