![]() |
พฤติกรรมการใช้งานสวนสาธารณะระดับชุมชน หลังการระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษา อุทยานเบญจสิริ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชนกนันท์ ปิ่นตบแต่ง |
Title | พฤติกรรมการใช้งานสวนสาธารณะระดับชุมชน หลังการระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษา อุทยานเบญจสิริ |
Publisher | Thai Association of Landscape Architects |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Journal of Landscape Architecture and Planning |
Journal Vol. | 6 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 276602 |
Keyword | สวนสาธารณะระดับชุมชน, การออกแบบหลังโควิด-19, มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม, พฤติกรรมการใช้งาน |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/LAJ/index |
Website title | ThaiJO |
ISSN | 3027-8503 (Online) |
Abstract | สวนสาธารณะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตของประชาชน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองที่ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษ ความแออัด และวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ส่งผลให้สวนสาธารณะเป็นสถานที่สำคัญในการช่วยลดความเครียดและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมาก การใช้งานพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสวนสาธารณะต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาพฤติกรรมการใช้งานสวนสาธารณะระดับชุมชนหลังการระบาดของโควิด-19 และเสนอแนวทางการออกแบบสวนสาธารณะที่ตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมการใช้งาน โดยเลือกอุทยานเบญจสิริในกรุงเทพมหานครเป็นกรณีศึกษา ในส่วนของวิธีการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณร่วมกัน ประกอบด้วยการสำรวจพื้นที่ การสังเกตพฤติกรรมผู้ใช้งาน และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายในด้านอายุ อาชีพ และวัตถุประสงค์การใช้งาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้งานสวนสาธารณะหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่ปรับตัวจากกิจกรรมกลุ่มใหญ่ เช่น การเล่นกีฬา หรือการจัดกิจกรรมสันทนาการ มาเป็นกิจกรรมเดี่ยวหรือเป็นคู่ เช่น การนั่งเล่น การเดิน การวิ่ง และการใช้เครื่องออกกำลังกาย พฤติกรรมดังกล่าวสะท้อนความกังวลของผู้ใช้งานเกี่ยวกับการรักษาระยะห่างทางสังคมและการลดความเสี่ยงในการสัมผัส นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังมีแนวโน้มเลือกใช้พื้นที่ที่มีร่มเงาและมุมมองสู่ธรรมชาติ เช่น ลานสนามหญ้าและพื้นที่ริมน้ำ ซึ่งช่วยลดความร้อนและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย โดยเฉพาะในช่วงกลางวันและบ่ายถึงเย็น ผลการสัมภาษณ์ยังชี้ให้เห็นถึงความต้องการในมาตรการความปลอดภัยและความสะอาด เช่น การติดตั้งจุดล้างมือ การใช้ก๊อกน้ำแบบเซ็นเซอร์ การแยกขยะติดเชื้อ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจากผลการศึกษา สามารถสรุปข้อเสนอแนะในการออกแบบสวนสาธารณะหลังการระบาดของโควิด-19 ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่ร่มเงาที่มีมุมมองสู่ธรรมชาติ การจัดพื้นที่กิจกรรมแบบกระจายตัวเพื่อลดความแออัด การเพิ่มเส้นทางเดินและทางวิ่งที่เชื่อมโยงพื้นที่สำคัญในสวน และการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานในยุควิถีชีวิตใหม่ ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางสำคัญสำหรับการออกแบบและพัฒนาสวนสาธารณะในอนาคต เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนภายใต้สถานการณ์ใหม่ |